บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

ธนาคารออมสิน

ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันเพื่อการออมทรัพย์ ที่ส่งเสริมให้มีการประหยัดการใช้จ่ายในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย ให้มีการออมทรัพย์แล้วนำเงินที่ออมนั้นไปฝากธนาคารโดยไม่คำนึงถึงว่าเงินนั้นจะมากหรือน้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ ได้พระราชทานกำเนิด "ธนาคารออมสิน" โดยครั้งแรกตั้งอยู่ในรูปของคลังออมสินสังกัดกรมพระคลังมหาสมบัติ เมื่อวันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๔๕๖ และ ได้ดำเนินกิจการมาจนกระทั่ง พ.ศ. ๒๔๗๒ จึงโอนมาสังกัดกรมไปรษณีย์โทรเลข ต่อมาภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ สมัย "ปรีดี พนมยงค์" เป็นนายยกรัฐมนตรี ได้ปรับปรุงให้เป็นธนาคารออมสินโดยดำเนินกิจการตามพระราชบัญญัติธนาคารออมสิน พ.ศ.๒๔๘๙

การดำเนินงานของธนาคารออมสิน
ปัจจุบันธนาคารออมสินได้ขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งอาจสรุปลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญได้ ๒ ด้านคือ

๑.ธุรกิจและการบริการ ธนาคารออมสินประกอบการดำเนินงานด้านธุรกิจและการบริการแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
"การรับฝากเงิน การจำหน่ายตราสาร ธุรกิจด้านการประกันชีวิต การบริการต่าง ๆ (ได้แก่ การรับจ่ายและโอนเงิน จำหน่ายตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทางภายในประเทศ จำหน่ายตั๋วแลกเงินของขวัญ ให้เช่าตู้นิรภัย) การให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชี การอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ธนาคารออมสินได้จัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ ให้แก่ผู้ฝาก ได้แก่ บริการฝาก-ถอนเงินต่างสำนักงานได้ทุกสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง บริการรับฝากเงินเป็นกลุ่ม โดยส่งพนักงานออกไปให้บริการรับปากเงินตามสถานที่ราชการ บริษัทห้างร้าน โรงงาน และที่ซึ่งได้แจ้งความประสงค์จะให้ธนาคารเข้าไปรับฝากเงิน บริการจ่ายเงินเดือนแทนให้ส่วนราชการ เป็นต้น

๒.การลงทุนและการแสวงหาผลประโยชน์
ปัจจุบันธนาคารออมสินมีการลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์หลายทางด้วยกัน คือ

๑.การลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล ธนาคารออมสินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลเป็นสัดส่วนสูงกว่าลงทุนด้านอื่น หลักทรัพย์รัฐบาลที่ธนาคารออมสินถือส่วนใหญ่ คือ "พันธบัตร และ ตั๋วสัญญาใช้เงิน"นอกจากนั้นเป็นหลักทรัพย์อื่น ๆ

๒.การให้กู้ยืมแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมกิจการด้านอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค

๓.การให้กู้ยืมแก่เอกชน เพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเอง ส่งเสริมการศึกษาสำหรับปลูกสร้างและซ่อมแซมอาคารเรียน ตลอดจนการให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีโดยใช้เงินฝากประจำ ๑๒ เดือนค้ำประกัน และให้สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์การของรัฐที่มีรายได้น้อย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น