บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ 2453-2475

ในช่วง พ.ศ.2453-2475 แม้ว่าจะเกิดวิกฤติการณ์ที่สั่นคลอนเสถียรภาพของเศรษฐกิจไทย เช่น ภัยธรรมชาติ สงครามโลกครั้งที่ 1 และภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก แต่ก็มีบางภาคของเศรษฐกิจได้ขยายตัวออกไปอย่างน่าพอใจ ภาคเศรษฐกิจเหล่านั้นได้แก่ ภาคเกษตรกรรมซึ่งประกอบด้วยการเพาะปลูกข้าว กิจการเหมืองแร่ ป่าไม้ และ ยาง นอกจากนั้นมีภาคหัตถอุตสาหกรรม และภาคการส่งออก

"การขยายตัวอขงการเพาะปลูกข้าวในช่วง พ.ศ.2453-2475 เกิดจากปัจจัยสำคัญ คือ ความต้องการข้าวในตลาดโลก"

น่าสังเกตว่าการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่นั่นคือ ความต้องการข้าว ดีบุก ไม้สัก และ ยาง ในต่างประเทศสูงขึ้น จูงใจให้ผู้ผลิตภายในประเทศขยายการผลิตมากขึ้น รัฐบาลยังมีบทบาทน้อยในการขยายตัวอังกล่าว แต่เฉพาะภาคหัตถอุตสาหกรรมนั้นรัฐบาลได้ให้ความสนใจพอควร ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลพยายามเพิ่มอัตราภาษีสินค้าเข้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ

1.การขยายตัวของภาคเกษตรในช่วง พ.ศ.2453-2475
อันได้แก่ การเพาะปลูกข้าว การทำเหมือนแร่ ป่าไม้ และยาง เป็นผลของอุปสงค์ในตลาดโลกที่สูงขึ้น และผู้ผลิตภายในประเทศได้สนองตอบอย่างน่าพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว น่าสังเกตว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดของกิจการเหมืองแร่และป่าไม้คือ "ทุน.จากต่างประเทศ การขยายตัวดังกล่าววัดได้จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและการส่งออก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจไทยจัดว่าอยู่ในช่วงกำลังขยายตัว การเพาะปลูกข้าวเริ่มขยายตัวนับแต่ พ.ศ.2420 เป็นต้นมา การาขยายพื้นที่เพาะปลูก ขยายตัวมากใสช่วง พ.ศ.2433-2453 ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มจึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 50 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด
อย่างไรก็ตามช่วงปีสุดท้ายของรัชสมัย ร.5เกิดภาวะฝนแล้งทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดแคลนข้าวทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ จนเกิดปัญหาติดต่อมาถึงรัชสมัย ร.6
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มมีปัญหา และต่อจากนั้นอีกไม่นานไทยก็ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ.2457-3460) ภาวะแห้งแล้ง และภาวะน้ำท่วมระหว่าง พ.ศ.2462-2463 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7)ก็มิได้โชคดีไปกว่ากัน เพราะเมื่อพระองค์ขึ้นครอบราชย์นั้น ต้องทรงแก้ไขปัญหาการคลังของรัฐที่ตกทอดมาจากรัชกาลก่อน
"วิกฤติการณ์ข้าว" จากภาวะขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องออกประกาศปิดและกักกันข้าวที่จะส่งออกนอกประเทศ และพยายามตรึงราคาข้าวไม่ให้สูงขึ้น
รัฐบาลก่อตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์เพื่อรับผิดชอบในด้านสหกรณ์ ตลอดจนการจัดให้มีการทดลองและสาธิตการทำนา การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ และที่สำคัญก็คือได้มีการ "เริ่มโครงการชลประทานป่าสักใต้" ซึ่งเป็นโครงการชลประทานหนึ่งในหลาย ๆ โครงการที่ "นายโทมัส วอร์ด" วิศวกรชลประทานชาวอังกฤษที่รัฐบาลไทยยืมตัวมาจากรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้เสนอ จากนั้นก็ได้มีการอนุมัติโครงการชลประทานอีก 2 โครงการคือ โครงการเชียงราก-คลองด่าน และ โครงการสุพรรณ
กระนั้นรัฐบาลก็ได้รับคำติเตียนค่อนข้างมากที่มิได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาการเกษตรเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจที่จะใช้จ่ายเงินไปในการสร้างทางรถไฟแทนการลงทุนในด้านเกษตรกรรม

2.การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงินในช่วง พ.ศ.2453-2475
การขยายตัวของภาคหัตถอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเทียบกับภาคเกษตรกรรม การขยายตัวมีอัตราสูงขึ้นเมื่อไทยเริ่มมี "อิสระในการกำหนดอัตราภาษีขาเข้า" เพื่อปกป้องตลาดภายในจากสินค้าต่างประเทศ ปัจจัยที่ทำให้ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวช้ามีหลายประการ เช่น "เงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราภาษีขาเข้าตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง" การเก็บภาษีภายในประเทศ การขาดแคลนปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น "ทุน แรงงานที่มีคุณภาพ" ส่วนกิจการธนาคารพาณิชย์ในภาคการเงินนั้นส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ และ "ทำธุรกรรมเฉพาะบางด้านเท่านั้น"
ภาคหัตถอุตสาหกรรม.."อินแกรม" มีความเห็นว่า พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยถูกจำกัดโดยปัจจัยหลายประการ เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ แต่ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่านั้น ได้แก่ "เงื่อนไขการเก็บภาษีศุลกากรตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง" กล่าวคือ การกำหนดอัตราภาษีขาเข้าเพียงร้อยละ 3 รวมทั้งการเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศที่เก็บจากการขนส่งสินค้าบางชนิดภายในประเทศ มีข้อสังเกตว่า การยดเลิกภาษีผ่านด่านและการขึ้นอัตรภาษีขาเข้าได้ช่วยให้อุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัวขึ้น แต่ในขณะเดียวกันตลาดภายในประเทศของไทยก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากนั้นการขาดแคลน "แหล่งเงินทุน ผู้ประกอบการ แรงงานที่มีความชำนาญ" และพลังงานล้วนเป็นปัจจัยที่ถ่วงความเจริญเติบโตของ
อุตสาหกรรมภายในประเทศในช่วงทศวรรษ 2463 และ 2473
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการเพาะปลูกข้าวและการค้าข้าว ก็เป็นตัวกระตุ้นกิจกรรมหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจการโรงสี และการส่งออกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากกิจการดังกล่าวนี้แล้ว กิจการธนาคารพาณิชย์ก็ได้เกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ แต่ธนาคารเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นธนาคารรับฝากเงิน และให้สินเชื่อ หรือธนาคารแลกเงิน กล่าวคือ ออกซื้อและขายตั๋วแลกเงิน หรือส่งเงินไปต่างประเทศเท่านั้น
ข้อชวนคิด..สาเหตุที่ทำให้ภาคหัตถอุตสาหกรรมไทยช่วงพ.ศ.2453-2475 ไม่ขยายตัวเท่าที่ควรเพราะ
หนึ่ง ข้อจำกัดในการเก็บภาษีขาเข้าตามสนธิสัญญาเบาว์ริง รวมทั้งการเก็บภาษีซ้ำซ้อนภายในประเทศ
สอง ตลาดภายในประเทศเล็กเกินไปจึงไม่จูงใจให้มีการลงทุนในด้านนี้
สาม การขาดแคลนปัจจัยการผลิต เช่น ทุน แรงงานที่มีคุณภาพ และผู้ประกอบการ

3.การค้าต่างประเทศในช่วง พ.ศ.2453-2475
ระบบเศรษฐกิจไทยมีความผูกพันกับเศรษฐกิจต่างประเทศ โครงสร้างสินค้าเข้าและสินค้าออกเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะในด้านสินค้าออก กล่าวคือ สินค้าออกได้เปลี่ยนจากของป่าและสินค้าที่มิได้แปรรูปหลายชนิดมาเป็นสินค้าออกเพียงไม่กี่ชนิด แต่ยังเป็นสินค้าออกขั้นประปฐม ซึ่งมีการแปรรูปน้อย ส่วนสินค้าเข้านั้นสัดส่วนของสินค้าเข้าประเภททุนเริ่มสูงขึ้นและไทยมีดุลการค้าที่ได้เปรียบตลอดเวลา
รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยและไม่ค่อยควบคุมกิจการของต่างชาติ เพื่อ "เป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาล"
โครงสร้างการค้าต่างประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปคือ "การกระจายตัวของสินค้าเข้าและสินค้าออก"

หลังการเปิดประเทศ ลักษณะของการค้าต่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งปริมาณการค้า และอัตราการเจริญเติบโตมีความผันผวนไม่คงที่ สินค้าออกและสินค้าเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงในช่วง พ.ศ.2453-2463 เพราะเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
สินค้าออกของไทย เป็นสินค้าขึ้นปฐมซึ่งไม่ค่อยมีการแปรรูปมากนัก ไม่ว่าจะเป็นไม้สักหรือดีบุก การขยายตัวของการส่งออกเกิดจากการขยายตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก เป็นเหตุผลที่ไทยต้องพึ่งต่างชาติมากในการส่งออก
ทิศทางการค้าไทย ในช่วงพ.ศ.2414-2452 ตลาดสินค้าออกของไทยอยู่ในทวีปเอเชีย โดยที่ประมาณร้อยละ 80 ของสินต้าออกส่งไปขายในตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์
เป็นที่น่าเห็นด้วยว่า หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว โครงสร้างของสินค้าเข้าและสินค้าออกของไทยเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต้องพึ่งต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากการผลิตของไทยได้เปลียนเป็นการผลิตสินค้าเกษตรไม่ดี่ชนิดเพื่อส่งออก และมีการสั่งสินค้าเข้าทั้งประเภทสินค้าบริโภคและสินค้าประเภททุน จากต่างประเทศมากขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น