บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การดำเนินงานของธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์

การดำเนินงานของธุรกิจเงินทุนและรกิจเงินทุนหลักทรัพย์จะต้องอยู่ในรูปของ"บริษัทมหาชน จำกัด" กฎหมายกำหนดให้ต้องมีบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 15 คนขึ้นไปเป็นผู้ริเริ่มจัดตั้งบริษัท โดยเข้าชื่อกันจัดทำหนังสือ"บริคณห์สนธิ" โดยมีผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล (ถ้ามี) จำนวนตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป บุคคลหนึ่ง ๆ จะถือหุ้นได้ "ไม่เกินร้อยละ 0.6 ของจำนวนหุ้นที่จำหน่าย" ได้แล้วทั้งหมด โดยถือหุ้นรวมกันไม่น้อยกว่า "ร้อยละ 50 ของจำนวนที่จำหน่าย" ได้ทั้งหมด ส่วนผู้ถือหุ้นที่เหลือ(ถ้ามี) รายหนึ่ง ๆ จะถือได้ไม่เกิน "ร้อยละ 10ของจำนวนหุ้นที่จำหน่าย" ได้ทั้งหมดของบริษัทนั้น การจัดตั้งบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์จะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สำหรับทางด้านเงินทุนนั้น บริษัทเงินทุนจะต้องมีทุนจดทะเบียนและทุนซึ่งชำระแล้วตามจำนวนที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกำหนด ทั้งนี้ต้องไม่ต่ำกว่า 60 ล้านบาท และ การลดทุนหรือเพิ่มทุนของบริษัทเงินทุนต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง

ทางด้านการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อไขของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ดังนี้

1.การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง บริษัทเงินทุนต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับเงินที่ได้จากการกู้ยืม หรือ ได้รับจากประชาชนตามอัตราส่วนกับเงินที่ได้จากการกู้ยืม หรือ ได้รับจากประชาชนตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7 แต่ทั้งนี้ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ำหว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินที่บริษัทเงินทุนมีหน้าที่ต้องชำระคืน และหลักทรัพย์รัฐบาลไทยซึ่งปราศจากภาระผูกพัน อันได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร รวมกับหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้น และดอกเบี้ยที่ปราศจากภาระผูกพันรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของยอดเงินต้นที่บริษัทเงินทุนมีหน้าที่จะต้องชำระคืนดังกล่าว การกำหนดให้มีการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องก็เพื่อให้บริษัทเงินทุนมีความคล่องตัวในการประกอบกิจการ

2.การดำรงเงินกองทุน บริษัทเงินทุนต้องดำรงเงินกองทุน เมื่อสิ้นวันทำการหนึ่ง ๆ ดังนี้
1.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยง
2.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่รับรองและ/หรือรับอาวัลตั๋วเงิน
3.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินกู้ยืมหรือรับจากประชาชนทั้งหมด หรือยอดเงินกู้ยืมแต่ละประเภท

ทั้งนี้อัตราส่วนดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งในพ.ศ.2534 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่ารอ้ยละ 6 ของสินทรัพย์เสี่ยงและไม่ต่ำหว่าร้อยละ 25 ของจำนวนเงินที่รับรองและ/หรือาวัลตั๋วเงิน

3.การให้กู้ยืมและ/หรือการลงทุน ในพ.ศ.2534 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้บริษัทเงินทุนจะให้กู้ยืมและ/หรือลงทุนในกิจการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งรวมกันเกินกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของบริษัทไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ขยายกิจการลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 100 ของเงินกองทุน แต่ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาสิทธิในการขยายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับบริษัทเงินทุน หรือ บริษัทหลักทรัพย์เป็นราย ๆ ไป

อนึ่ง ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2526 ได้เพิ่มอำนาจการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่บริษัทเงินทุนมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนไว้ในมาตรา 26 ทวิ

1)บริษัทเงินทุนที่ขาดทุนและทำให้เงินกองทุนลดลงเหลือ 3 ใน 4 ของทุนที่ชำระแล้ว ห้ามบริษัทเงินทุนนั้นให้กุ้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนต่อไป ในการให้ความเห็นชอบดังกล่าว จะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการกู้ยืม หรือ การลงทุน หรือ กำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้

2)บริษัทเงินทุนที่ขาดทุนและเงินกองทุนลดเหลือไม่เกินครึ่งหนึ่งของทุนที่ชำระแล้ว ต้องระงับดำเนินกิจการ และให้เสนอโครงการแก้ไขฐานะการเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบภายใน 14 วัน หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นชอบ บริษัทเงินทุนสามารถอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งผลการวินิจฉัยโครงการ

นอกจากนี้บริษัทเงินทุนจะต้องดำเนินการในการให้สินเชื่อตามมาตรการควบคุมสินเชื่อเฉพาะอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะกำหนดอัตราการให้กู้ยืมแก่กิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือกำหนดวงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง

1 ความคิดเห็น: