บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

โรงรับจำนำ

ธุรกิจโรงรับจำนำได้ก่อตั้งมานานแล้วโดยเอกชนกระทำกันเอง แต่เท่าที่ทำเป็นธุรกิจนั้นมีชาวจีนชือ "จีนฮง" เป็นผู้ริเริ่มเมื่อ พ.ศ.2409 มีชื่อว่าโรงรับจำนำเจ็กฮง ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น "ย่องเซี้ยง" โดยการดำเนินการในช่วงแรกไม่ต้องขออนุญาต ต่อมานายเล็ก โทณวนิก ได้ตั้งโรงรับจำนำชื่อ "อั้วเสง" นับเป็นโรงรับจำนำแห่งแรกของประเทศไทย ที่ตั้งขึ้นถูกต้องตามพระราชบัญญัติโรงรับจำนำ ร.ศ.114 โรงรับจำนำได้ชื่อว่าเป็นธนาคารของคนยากเพราะลูกค้าส่วนใหญ่เป็นผู้มีรายได้น้อย

ปัจจุบันโรงรับจำนำในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผู้ดำเนินการได้ 2 ประเภท ได้แก่
1.โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน
2.โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ประกอบด้วย
1)สถานธนานุเคราะห์ ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์
2)สถานธนานุบาล ดำเนินการโดยเทศบาล

โดยทั่วไปทรัพย์สินที่จะจำนำ จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา ซึ่งไม่มีการจดทะเบียนรูปพรรณมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท และต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาท โดยโรงรับจำนำจะประกอบธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากการรับจำนำไม่ได้ นอกจากนั้นยังห้ามขายทรัพย์สินที่หลุดจำนำภายในบริเวณที่รับจำนำ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น