บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแสวงหาแนวคิดใหม่ทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2475-2488

1.พื้นฐานทุนนิยมไทยก่อน พ.ศ.2475
นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ.2461 เป็นต้นมา) จนถึง พ.ศ.2475 ทุนชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มมีบทบาทสำคัญแทนที่คุนตะวันตกรวมทั้งทุนของพระคลังข้างที่และกลุ่มศักดินา
พื้นฐานทุนนิยมไทย ก่อนพ.ศ.2475 ทุนนิยมของชาวจีนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการย่างก้าวเข้ามาแทนที่ทุนตะวันตกและก้าวล้ำหน้ากลุ่มทุนของพระคลังข้างที่ จนมีส่วนสำคัญในพื้นฐานทุนนิยมไทยในช่วงก่อน พ.ศ.2475
ปัจจัยเกื้อหนุนประการแรก เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯที่ดำเนินการโดยชาวจีนเป็นสำคัญ ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ได้สรุบว่าการทีคนจีนสามารถควบคุมกิจการโรงสีและชนะคนตะวันตกได้เพราะ 1)คนจีนสามารถควบคุมการตลาดภายในประเทศและค่างประเทศ 2)โรงสีของคนจีนได้เปรียบในเรื่องแหล่งเงินทุนกู้ยืม 3)โรงสีของคนจีนเป็นผู้ริเริ่มการสีข้าวสาร คนตะวันตกยังสีเป็นข้าวกล้อง นายทุนจีนจึงเป็นผู้ประกอบการสำคัญต่อการค้าขายของกรุงเทพฯ ปัจจัยเกื้อหนุนนายทุนจีนอีกประการคือ การพัฒนาระบบการชนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งการส่งออกข้าวของไทยส่วนใหญ่จะส่งไปยังตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง

2.เค้าโครงการเศรษฐกิจของคณะราษฎรและแนวคิดเศรษฐกิจชาตินิยม
เค้าโครงการเศรษฐกิจของคณะราษฎรซึ่งร่างโดย "นายปรีดี พนมยงค์" เน้นการใช้รัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ โดยเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตเรื่องทุนและที่ดิน รวมทั้งได้มีการเน้นบทบาทของสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการช่วยรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจ
แนวคิดเศรษฐกิจ "ชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ เน้นกาชาติเป็นจุดหมาย สหกรณ์เป็นวิธีการ" โดยสนับสนุนการเจริญเติบโตของชนชั้นกลาง ข้าราชการ พ่อค้า และนายทุนน้อย เป็นสำคัญ
นโยบาย 6 ประการ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดีพนมยงค์ ซึ่งถือเป็น "มันสมอง" ของคณะราษฎรในขณะนั้น เขาได้รับอิทธิพลแนวคิดด้านสังคมนิยมจากการศึกษาวิชาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคม คณะราษฎรได้มอบหมายให้ "นายปรีดี พนมยงค์" เป็นผู้ร่างนโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร หรือ ที่เรียกกันว่า "เค้าโครงการเศรษฐกิจ"
เค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี เน้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการปรับปรุงการแบ่งปันผลผลิตในสังคม นั่นก็คือ มุ่งที่จะใช้ทรัพยากรการผลิตให้เต็มที่ด้วยการแปลงกระบวนการผลิตของไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนดำเนินการในขั้นแรกในรูปของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งใช้นโยบายการพึ่งตนเองเป็นหลัก ปราศจากการครอบงำของต่างชาติ และกำจัดความเหลื่อมล้ำของคนทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง
สาระสำคัญ..ของเค้าโครงการเศรษฐกิจ คือ เสนอให้มีการโอนกรรมสิทธิเอกชนเป็นของรัฐในเรื่องปัจจัยการผลิตทั้งที่ดินและทุน รวมทั้งให้รัฐกำกับการใช้ปัจจัยเหล่านั้น การโอนให้แก่รนัฐจะได้ผลตอบแทนในรูปพันธบัตรเงินกู้ ปัจจัยการผลิตที่รัฐโอนมาจะถูกนำไปแจกแจงให้ราษฎรทำกินตามกำลังสติปัญญาของแต่ละครอบครัว ทุนและโรงงานก็เช่นเดียวกัน รัฐจะยอมให้เอกชนครอบครองและดำเนินการ ส่วนกิจการที่ครอบครองโดยชาวต่างประเทศจะดำเนินต่อไปได้ โดยรัฐบาลจะให้สัปทานเป็นคราว ๆ ไป
สรุปสาระสำคัญของเค้าโครงการเศรษฐกิจของ "นายปรีดี พนมยงค์"
1)รัฐบาลจะหางานให้ราษฎรทำ เช่นรับเป็นข้าราชการ
2)รัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง
3)รัฐบาลสนับสนุนให้มีแนวทางการบริหารเศรษฐกิจที่พึงตนเอง
4)รัฐบาลจะซื้อที่ดินจากเอกชน
5)จัดหาทุนเพื่อมาจ่ายค่าแรงและซื้อเครื่องจักร โดยเก็บภาษีมรดก ภาษีเงินได้ของเอกชน ภาษีทางอ้อม(เช่น รวมไว้ในราคายาสูป ไม้ขีดไป เกลือ)
6) รัฐบาลกำหนดให้ราษฎรทำงานตามคุณวุฒิ กำลัง และความสามารถของตน
แนวความคิดและหลักการของเค้าโครงการเศรษฐกิจคณะราษฎรของ "นายปรีดี พนมยงค์" ข้างต้นแสดงถึงความพยายามที่จะใช้การวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางและการใช้ระบบสหกรณ์เพื่อใช้ในการเพิ่มพลังทางการผลิต
อย่างไรก็ตาม..เค้าโครงนายปรีดี พนมยงค์ที่ร่างขึ้นแก่คณะรัฐบาลในพ.ศ.2475 ปรากฎว่าได้รับการต่อต้าน ผู้คัดค้านคนสำคัญประกอบด้วย "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา "ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และ "พันเอกพระยาทรงสุรเดช "หัวหน้าแล่มปีกขวาในคณะราษฎร อีกทั้ง ได้รับการคัดค้านจาก "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย" ทรงเขียนบันทึกแสดงพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้โดยสรุปว่า
"เค้าโครงการเศรษฐกิจจะทำลายเสรีภาพของราษฎร เป็นการบังคับราษฎรลงเป็นทาส รัฐบาลไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงไม่ควรประกอบการเอง การดำเนินการตามเค้าโครงการเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ เค้าโครงการเศรษฐกิจไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนไทย เพราะคนไทยอยู่กันตามสมควรไม่ถึงกับมีใครอดอยาก"
พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความตอนหนึ่งว่า...
"มีข้อความอันหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องเป็นสิ่งสงสัยเลยว่า โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรุสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐ์จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่าโครงการทั้ง 2 นี้เหมือนกันหมด เหมือนกันจนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระทำ จะผิดกันนั้นก็แต่รุสเซียนั้นแก้เสียเป็นไทยหรือไทยนั้นแก้เป็นรุสเซีย ถ้าสตาลินเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ข้าวสาลีแก้เป็นข้าวสาร ข้าวสารแก้เป็นข้าวสาลี" (อ้างใน ชัยอนันต์ 2532:190)





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น