บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใจช่วง พ.ศ.2453-2475

วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วง พ.ศ.2453-2475 ได้แก่ "วิกฤติการณ์ข้าว" "วิกฤติการณ์การคลัง" และ "วิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศ" วิกฤติการณ์ต่าง ๆ มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันไม่น้อย วิกฤติการณ์ข้าวเกิดจากภัยธรรมชาติ ทำให้ผลผลิตตกต่ำ ส่งออกได้น้อย วิกฤติการณ์ด้านการคลังเกิดจากรายได้ของรัฐเพิ่มขึ้นช้ากว่ารายจ่าย เพราะความสามารถในการผลิตลดลง รายได้ของรัฐจากการเกิบภาษีจึงลดลงด้วย ในขณะที่รัฐบาลมีรายจ่ายบางประเภทที่เพิ่มขึ้นโดยไม่สามารถจะตัดทอนลงได้ เช่น รายจ่ายเพื่อความมั่นคงของประเทศ ส่วนวิกฤติการณ์ทางการเงินระหว่างประเทศเกิดจากความผันผวนในตลาดโลก บวกกับนโยบายการเงินอนุรักษ์นิยมของไทย
"วิกฤติการณ์ข้าวในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ วิกฤติการณ์เกิดจากปัจจัยภายใน อันได้แก่ ..การขาดแคลนข้าวภายในประเทศ"

1.วิกฤติการณ์ข้าวในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ข้าว 2 ครั้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ คือ ฝนแล้ง และนำท่วม ทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลง และมีผลกระทบต่อไปยังวิกฤติการณ์ด้านอื่น ๆ ด้วย
วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 1 ..พ.ศ.2454
ในช่วงพ.ศ.2448-2455 เกิดภาวะผนแล้งและน้ำท่วมสลับกันไป ความรุนแรงเกิดขึ้นมากในภาคกลางโดยเฉพาะที่รังสิตในช่วง พ.ศ.2453-2454 เพราะนอกจากธรรมชาติจะไม่อำนวยแล้ว คลองรังสิตยังตื้นเขินเพราะการขุดคลองแคบเกินไป แม้ราคาข้าวจะสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มูลค่าส่งออกกลับลดลง
จอห์นสตัน(Johnston) ผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเวลาดังกล่าวได้อธิบายว่า ภาวะเลวร้ายที่เกิดขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้การส่งออกของไทยลดลง
การแก้ไขวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ของรัฐบาล คือ การซ่อมแซมและขุดคลูคลองใหม่ รวมทั้งลดอากรค่านาลงเท่าเดิม จากนั้นความสนใจของรัฐบาลต่อการพัฒนาการเกษตรได้ลดน้อยลงไป เนื่องจากภาวะการเพาะปลูกและการค้าข้าวได้กลับคืนสู่สภาพปกติ

วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 2 พ.ศ.2460-2462
ในปี พ.ศ.2460 เกิดภาวะน้ำท่วม จึงทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายถึงหนึ่งในสาม พื้นที่ที่เสียหายส่วนใหญ่อยู่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุด ทำให้การผลิตลดลง ต่อมา ในพ.ศ.2462 เกิดภาวะฝนแล้ง ซึ่งก็ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อการผลิตข้าว เนื้อที่เสียหายจากภาวะฝนแล้งคิดเป็นร้อยละ 43 ของพื้นที่เพาะปลูก
การที่ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นมาก ได้จูงใจให้มีการส่งข้าวออกนอกประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะข้าวภายในขาดแคลน และราคาข้าวสูงขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งรัฐบาลต้องมีมาตรการห้ามนำข้าวออกนอกประเทศในเดือนธันวาคม พ.ศ.2462 เป็นต้นมา
วิกฤติการณ์ข้าวในพ.ศ.2462 รุ่นแรงกว่าใน พ.ศ.2460 บางพื้นที่ถึงกับมีการแย่งชิงข้าวกัน

2.วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศ เกิดจากการที่ "ราคาโลหะเงินในตลาดโลกสูงขึ้น ทำให้ไทยต้องขึ้นค่าเงินบาท" เพื่อป้องกันมิให้โลหะเงินไหลออกนอกประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสืบเนื่องคือ การส่งออกของไทยลดลง และการมีปริมาณเงินปอนด์ลดลง จึงทำให้ความต้องการเงินปอนด์สูงขึ้นและถือเงินปอนด์สูงขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ "ไทยต้องขาดดุลการค้า"
วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์กับวิกฤติการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด "อินแกรม" ได้ประมวลความยุ่งยากทางการเงินระหว่างประเทศของไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ว่า พลังสงครามความต้องการข้าวไทยสูงมาก มีการส่งข้าวออกไปได้มาก ผู้ส่งข้าวออกเมื่อได้เงินตราต่างประเทศมาส่วนใหญ่จะเป็นเงินปอนด์ก็จะนำเงินตราเหล่านี้ไปแลกเงินบาทจากกระทรวงการคลัง ทำให้ความต้องการเงินบาทภายในประเทศสูงมาก รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องสนองความต้องการนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การนำเหรียญเงินในกองทุนสำรองออกมาใช้ หรือ การนำธนบัตรฉบับละ 1 บาท มาพิมพ์ใหม่เป็นฉบับละ 50 ผลก็คือ กระทรวงการคลังได้เงินปอนด์เข้ามามากโดยรับซื้อในอัตราขณะนั้นคือ 13 บาทต่อ 1 ปอนด์ และ ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นมาก จนกระทั่งมีการห้ามส่งข้าวออกเพราะวิกฤติการณ์ข้าวในปี พ.ศ.2462
เหตุการที่เกิดขึ้นต่อมาคือ "พ.ศ.2462 ราคาของโลหะเงินสูงขึ้น" และมีการคำนวณว่าถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินปอนด์ยังเป็น 13 บาทต่อ 1 ปอนด์ เมื่อโลหะเงินมีราคาสูงกว่า 39 เพนนี ต่อ 1 ออนซ์ จะมีการหลอมเหรียญเงินส่งไปขายในต่างประเทศ เพราะได้กำไรมากกว่า
ความที่เกรงว่าปริมาณเหรียญเงินในประเทศจะลดลง เพราะการหลอมเหรียญเงินส่งไปขายต่างประเทศ รัฐบาลไทยจึงได้ขยับอัตราแลกเปลี่ยนจาก 13 บาทเป็น 12 บาทต่อ 1 ปอนด์ การกระทำดังกล่าวประกอบกับการฟ้ามส่งออก ทำให้ความต้องการต่อเงินบาทลดลง เนื่องจากเงินปอนด์ที่ได้รับจากการส่งออกลดลงจำนวนเงินปอนด์ที่จะนำมาแลกกับเงินบาทจึงลดลงด้วย ขณะที่ความต้องการต่อเงินปอนด์กลับสูงขึ้น และราคาโลหะเงินยังคงสูงขึ้นต่อไป รัฐบาลไทยจึงขยับอัตราแลกเปลี่ยนให้สูขึ้นตามจนเป็น 9.54 บาทต่อ 1 ปอนด์
ดังนั้นผลรวมที่เกิดขึ้นจากการห้ามส่งข้าวออกและการขึ้นค่าเงินบาทก็คือ ความต้องการเงินปอนด์จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะเป็นที่คาดกันว่า ความต้องการเงินปอนด์ที่สูงขึ้นจะทำให้ค่าของเงินปอนด์สูงขึ้นไปอีก และ รัฐบาลไทยอาจจะต้องลดค่าเงินบาทลงมา ดังนั้น ผู้สั่งเข้าจึงรีบซื้อเงินปอนด์ไว้ก่อน ซึ่งยิ่งทำให้ความต้องการเงินปอนด์สูงขึ้นไปจริง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ ไทยนอกจากจะขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับแต่ปี พ.ศ.2393 มาแล้ว รัฐบาลไทยยังขาดทุนจากการขายเงินปอนด์
การลดค่าเงินบาทลงในขณะที่ราคาโลหะเงินในตลาดสูงขึ้น ย่อมจะทำให้มีการสั่งหลอมเหรียญเงินและส่งออกไปขาย ด้วยเหตุนี้การ "ขึ้นค่าเงินบาท" จึงเป็นหนทางเดียวที่จะยับยั้งการไหลออกของโลหะเงินได้ และ รัฐบาลก็มีความยินดีที่จะขึ้นค่าเงินบาท เพื่อรักษาปริมาณการหมุนเวียนของเหรียญเงินในประเทศไว้ให้ประชาชนมีความเชื่อถือในเงินตราต่อไป

3.วิกฤติการณ์ด้านการคลังในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ด้านการคลังเป็นผลจากวิกฤติการณ์ข้าวและวิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศ เพราะการที่ผลผลิตข้าวลดลง และการที่ไทยพยายามขึ้นค่าเงินบาท มีผลให้การส่งออกลดลง รายได้จากการเก็บภาษีลดลง ประกอบกับรายจ่ายของรัฐบาลสูงขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาด้านการคลังขึ้น
นับตั้งแต่ได้มีการปฏิรูปการบริหารการคลังโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ.2435 เป็นต้นมา การจัดทำงบประมาณมีระบบและการตรวจสอบอย่างสมำเสมอ มีการแบ่งแยกระหว่างรายได้ของแผ่นดินและรายได้ส่วนพระมหากษัตริย์ การจัดเก็บภาษีก็เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้น งบประมาณเกินดุลมาโดยตลอด ยกเว้นในบางปีเช่น พ.ศ.2447และ พ.ศ.2450 ซึ่งจำนวนขาดดุลน้อยมากประมาณ 6 แสนบาท
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 1 เกิดขึ้นใน พ.ศ.2454 งบประมาณขาดดุลเป็นจำนวนถึง 2.53 ล้านบาท และ ช่วงที่เราเรียกกันว่า เป็นช่วงวิกฤติการณืของการคลังของรัฐบาล คือ "ช่วงที่งบประมาณขาดดุลเป็นเวลา 6 ปี ต่อต่อกันตั้งแต่ พ.ศ.2463-25468" และจำนวนการขาดดุลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ขณะเดียวกันจำนวนเงินคงคลังในแต่ละปีก็ลดลงมากด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น