บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สภาพและปัญหาของเศรษฐกิจไทยในช่วง พ.ศ.2475-2488

ในช่วง พ.ศ.2475 -2484 เศรษฐกิจไทยมีปัญหาเรื่องการส่งออกต่ำ ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล รวมทั้งปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา ปํญหาต่าง ๆ ดังกล่าวเกิดจากผลกระทบเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ1930 เป็นสำคัญ ในขณะที่ช่วงพ.ศ.2484-2488 เศรษฐกิจไทยประสบปัญหาด้านการผลิตและการส่งออก การนำเข้า การขาดดุลการค้า และภาวะเงินเเฟ้อ ปัญหาดังกล่าวข้างตจ้นเกิดจากผลกระทบการเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงปลาย พ.ศ.2484-2488 เป็นสำคัญ

1.ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (พ.ศ.2475-2484)
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำระหว่าง พ.ศ.2475-2484 นั้น ได้แก่ปัญหาทางด้านการส่งออกตกต่ำ ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล รวมทั้งปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา..มูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ก็คือ "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 1930"
ช่วงที่ 1..พ.ศ.2475-2484 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะคับขันมาก เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ช่วงที่ 2..พ.ศ.2484-2488 นั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2475-2488 พอจะจำแนกได้ดังนี้
1.ปัญหาทางด้านการส่งออกตกต่ำ
2.ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล
3.ปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา

การส่งออกตกต่ำ ภาวะการค้าของไทยยังอยู่ในสภาพเกินดุลเป็นสำคัญ จากการดำเนินนโยบายการคลังอนุรักษ์นิยมอย่างเคร่งครัด ลดการนำเข้าให้ได้ดุลการส่งออก มูลค่าการส่งออกข้าวเมื่อคิดเป็นเงินบาทได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่มีค่าสูงขึ้น เมื่อเอาเงินปอนด์ที่ขายข้าวได้มาแลก จึงได้งินบาทน้อยลง ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลต่ำลงของการส่งออกข้าว ประการแรก เนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ประการที่สอง คือการที่ค่าเงินบาทสูงเกินไป ประการที่สาม ตลาดข้าวระหว่างประเทศมีสภาวะการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล เศรษฐกิจตกต่ำมีผลให้รัฐบาลหารายได้ได้น้อย ส่งผลต่อเนื่องให้การใช้จ่ายของรับบาลพลอยตกต่ำลงไปด้วย รัฐบาลได้ตัดงบประมาณรายจ่ายลงไปมาก มาตรการที่สำคัญ คือ ลดเงินเดือนข้าราชการ การปลดข้าราชการออก การตัดงบลงทุนในโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น สร้างถนน สร้างทางรถไฟ
ปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา ชาวนามีต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ หรือเมื่อการผลิตข้าวขยายตัวย่อมมีผลให้ต้องใช้แรงงานมาก อัตราค่าจ้างย่อมสูงขึ้นด้วย ประกอบกับสัดส่วนต้นทุนในด้านค่าจ้างแรงงานเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตข้าวยังสูง เพราะการทำนาเป็นกจิกรรมการผลิตที่เน้นการใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เมื่อราคาข้าวตกต่ำจึงย่อมมีผลให้ชาวนาประสบปัญหายได้ไม่พอจ่ายมากยิ่งขึ้น

2.แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
แนวทางแก้ไขที่ สำญคือ "นโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว และ นโยบายการคลังของรัฐบาล"
นโยบายการแก้ไขข้าวนั้น เน้นที่จะส่งเสริมการพัฒนาเทคนิคการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวตกต่ำลง ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้มีตลาดที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย
นโยบายแก้ไขปัญหาการคลังของรัฐบาล มุ่งที่นโยบายอนุรักษ์นิยมที่เน้นงบประมาณสมดุล และ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.นโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว..รัฐส่งเสริมการพัฒนาเทคนิคการผลิตข้าวเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูง สนับสนุนให้ตลาดขยายตัวมากขึ้น จัดตั้ง "กรมตรวจกสิกรรม" ทำหน้าที่เสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขวิธีการเพาะปลูก การเปิดการคมนาคมทั่วประเทศด้วยการขยายระบบการขนส่งทั้งทางถนนและทางรถไฟ การเพิ่มเนื้อที่เพาะปลูกด้วยการเพิ่ม "โครงการชลประทาน" รวมทั้งขยายงานในด้าน "สหกรณ์" ให้แพร่หลายมากขึ้น
2.นโยบายแก้ไขเรื่องการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล..เหตุผลสำคัญที่รัฐบาลเลือกใช้นโยบายการคลัง "แบบอนุรักษ์นิยม"เพราะถ้าหากรัฐบาลไทยเลือกใช้นโยบายการคลังที่มีผลต่อการเป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ประเทศเจ้าหนี้หรือประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ หรือ ฝรั่งเศส อาจใช้เป็นเหตุผลหรือข้ออ้างเพื่อแทรกแซงกิจการภายใน อธิปไตยจึงเป็นตัวแปรสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการคลังแบบอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดนั่นเอง
3.ปัญหาเศรษฐกิจและผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ (พ.ศ.2484-2488) ต่อเศรษฐกิจไทย
ปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.2484-2488 คือ ปัญหาการส่งออก ปัญหาการนำเข้า ปัญหาเงินเฟ้อ และผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลให้การกระจายรายได้เลวลง และ มีผลต่อเนื่องไปถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้การคอร์รัปชั่นแพร่หลายมากขึ้น
พ.ศ.2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายยกรัฐมนตรี ประกาศตัวเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่น ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 การค้าระหว่างประเทศของไทยจึงถูกกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออกข้าว เกิดภาวะเงินเฟ้อ จากการที่ไทยต้องผลิตธนบัตรเพื่อให้ทหารญี่ปุ่นได้กู้ยืมใช้ภายในประเทศ ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อเศรษฐกิจไทยทางด้านกระจายรายได้เลวลง โดยรายได้ที่แท้จริงของข้าราชการลดลงส่งเสริมให้มีการคอร์รับปชั่นอย่างแพร่หลาย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น