นโยบายเศรษฐกิจชาตินิยม หรือ "ชาตินิยมทางเศรษฐกิจ" ขึ้นมาแทนที่เค้าโครงการเศรษฐกิจของนาย "ปรีดี พนมยงค์" ผู้ที่อยู่เบื้องหลังนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมที่สำคัญ คือ "หลวงวิจิตรวาทการ"
สรุปสาะสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ
1.รัฐจะซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่ใช่เอามาเป็นของรัฐเองแบบข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ หลวงวิจิตรวาทการเห็นว่าคนไทยทุกคนต้องมีที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามควรแก่อัตภาพ เพราะมนุษย์ซึ่งติดที่ดินและหาเลี้ยงชีพบนที่ดินย่อมรักชาติและรักประทศมากกว่ามนุษย์ที่มีอาชีพเร่ร่อน
2.ระบบเศรษฐกิจชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการยึดหลัก "ชาติเป็นจุดหมาย สหกรณ์เป็นวิธีการ"โดยที่แนวคิดเรื่องสหกรณ์ของหลวงวิจติรวาทการมิได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หากแต่เป็นการสนับสนุนการรวมตัวกันของชนชั้นกลางในด้านการผลิต และการค้าในรูปของสหกรณ์ เช่น การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนให้ผู้ประกอบการได้รวมตัวกันในรูปของสมาคมอาชีพ เช่น สมาคมธนาคาร สมาคมประกันภัย
3.ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนให้คนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการที่แสวงหากำไรอย่างกว้างขวาง ในกรณีที่ประชาชนยังไม่มีความสามารถเข้าร่วมได้ รับบาลก็จะเป็นผู้นำในการริเริ่มหรือเข้าไปมีส่วนร่วมเอง นั่นก็คือ "การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ"
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการแตกต่างจากเค้าโครงการเศรษฐกิจของ นายปรีดี พนมยงค์ ในหลายประการด้วยกัน เช่น หลวงวิจิตวาทการเสนอระบบเศรษฐกิจใหม่ต่อต้านศักดินาเดิม แต่เป็นรูปแบบที่อ่อนกว่าข้อเสนอของ นายปรีดี พนมยงค์ เพราะการซื้อที่ดินของรัฐทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ระบบสหกรณ์ของหลวงวิจิตรวาทการสนับสนุนกระฎุมพีน้อย ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้าย่อย และชาวนา เป็นลำดับแรก ไม่ได้ขัดขวางการขยายตัวของนายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของชาติ ซึ่งขณะนั้นย่อมหมายถึง ภายใต้ระบบราชการที่บงการโดยหลวงพิบูลสงคราม(ฉัตรทิพย์ 2527:559)
การสนับสนุนการเจริญเติบโตของชนชั้นกลาง แนวคิดของหลวงวิจิตรวาทการจึงเป็นพื้นฐานของ "ระบบทุนนิยมที่นำโดยรัฐ (State Capialism) ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของ นายปรีดี พนมยงค์ ที่เป็นแนวคิดต่อต้านศักดินาเหมือนกัน แต่โน้มไปทางซ้ายด้วยการยกฐานะชาวนาเป็นสำคัญ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น