บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2475

การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2475 และ การแสวงหาแนวทางใหม่ในการพัฒนาเศรษฐกิจ
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลต้องหาทางแก้ไข ในขณะเดียวกันวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยอันได้แก่ "ปัญหาที่ดิน ปัญหาการขาดแคลนทุน และ ภาระหนี้สินของชาวนา " เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จนทำให้นักคิดหลายคนเริ่มเสนอแนวนโยบายใหม่ในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว
1.นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในช่วง พ.ศ.2453-2475
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสิ้นรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจไทยต้องพบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจไทยเด่นชัดขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานเหล่านั้น แต่จะสังเกตเห็นได้ว่า นโยบายต่าง ๆ ยังมีลักษณะอนุรักษณ์นิยมมิได้แก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแต่ประการใด
1)การแก้ไขวิกฤติการณ์ข้าว
เพื่อแก้ไขภาวะขาดแคลนข้าว รัฐบาลได้พิจารณาให้มีการควบคุมการส่งข้าวออกต่างประเทศ ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2462 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับและตรวจตราข้าว รวมทั้งได้ออกประกาศ "ห้ามมิให้ส่งข้าวออกนอกประเทศ" โดยไม่ได้รับอนุญาต
ความรุนแรงของวิกฤติการณ์ข้าวทำให้รัฐบาลได้ขยายขอบเขตของการพัฒษนาเกษตรกรรมออกไปมาก ผลงานดีเด่นที่สำคัญของรัฐบาลในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจช่วง พ.ศ.2453-2463 ได้แก่ "โครงการชลประทาน โครงการสหกรณ์ และ การจัดตั้งกระทรวงพาณิชย์" เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการค้ารวมทั้งการหาตลาดต่างประเทศ
"โทมัส วอร์ด(Thomas Ward) วิศวกรชาวอังกฤษ มาช่วยวางแผนจัดทำโครงการชลประทาน ซึ่งเสนอรัฐาบาลหลายโครงการ แต่ถูกตัดทอนลงเหลือ 2 โครงการ คือ โครงการป่าสักใต้ และ โครงการเชียงราก-คลองด่าน โครงการป่าสักใต้จะสร้างเขื่อนที่อำเภอท่าเรือ จ.อยุธยา ซึ่งต่อมาคือ เขื่อนพระรามหก
ส่วนโครงการเชียงราก-คลองด่าน โครงการนี้จะช่วยระบายน้ำจากโครงการป่าใต้ลงมายังบริเวณทุ่งคลองด่าน ทุ่งแสนแสบ สำโรง และ สมุทรปราการ
2)การแก้ไขวิกฤติการณ์ด้านการคลัง
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้ง " สภาการคลัง" เพื่อจัดการควบคุมระบบการเงิน สภาการคลังได้เสนอรายงานว่าความยุ่งยากทางการคลังที่เกิดขึ้นนี้มิได้เกิดจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เพราะรายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลมีมากเกินไป ได้มีการเสนอว่ารัฐบาลไม่ควรจะตัดรายจ่ายการลงทุน หากรัฐหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายก็ควรจะลดรายจ่ายด้านการบริหารลง โดยให้ตัดงบรายจ่ายของทุกหน่วยงานลงร้อยละ 10 แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ
ความจริงที่ปรึกษาด้านการคลัง คือ "เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก (Sir Edward Cook)" ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการตัดรายจ่ายลง ทั้งรายจ่ายในราชสำนัก และรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ แต่ รัชกาลที่ 6 ไม่ทรงเห็นด้วยกับคำแนะนำที่จะตัดงบราชสำนัก ในทางตรงกันข้าม พระองค์ยังทรงยืนยันที่จะสร้างถนนจากพระราชวังสนามจันทร์ไปหาดเจ้าสำราญ และ อ่าวไทย เพื่อการซ้อมรบเสือป่า และ สร้างสวนลุมพินี เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 15 ปี ในขณะเดียวกันคณะกรรมการฝ่ายทหารก็ได้เสนอบันทึกต่อรัชกาลที่ 6 แสดงเจตนาแน่วแน่ว่าจะไม่ตัดงบประมาณด้านการทหาร เว้นไว้แต่ว่ารายจ่ายในราชสำนักจะถูกตัดให้น้อยลงในจำนวนเท่าเทียมกัน ในที่สุดปัญหาการคลังก็มิได้รับการแก้ไข จนกระทั้งรัชกาลที่ 6 สวรรคต
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2468 ก็ทรงรับภาระหนักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทรงตัดทอนรายจ่าย และ หารายได้เพิ่มเติม ในด้านรายจ่ายนั้น พระองค์ทรง "ลดจำนวนข้าราช" ในกระทรวงวัง และ ตัดวบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ลงจาก 9 ล้าน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็น 6 ล้านบาท ในด้านการหารายได้ ทรง "เพิ่มค่ารัชชูปการ" และ "ทำการแก้ไขสนธิสัญญาบางส่วนกับอังกฤษ" ในพ.ศ.2468-2469 ทำให้ไทยสามารถปรับปรุงอัตราภาษีศุลกากรใหม่ โดยเพิ่มอัตราภาษีจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ของราคาสินค้าเข้าทั่ว ๆ ไป
แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ฐานะทางการคลังของไทยเริ่มมีปัญหาอีกครั้ง การแก้ไขการคลังของไทยในครั้งนี้ ใช้วิธีพยายามตัดทอนรายจ่ายให้มากที่สุด และ หารายได้โดยการเพิ่มภาษีอากร เพื่อให้งบประมาณได้ดุล
3)ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย
ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ก็คือ ปัญหาในด้านการเกษตร หรือ ถ้าพูดให้เจาะจงลงไปก็คือ "ปัญหาของชาวนา"
ปัญหาเศรษฐกิจของชาวนาอาจสรุปได้ คือ 1.ปัญหาเรื่องทุน 2.ปัญหาเรื่องที่ดิน 3.ปัญหาผลผลิตตกต่ำ 4.ปัญหาในด้านการชลประทาน 5.ปัญหาระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม 6.ปัญหาด้านการตลาด
4)นโยบายของรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาของชาวนา
ได้มีผู้สรุปว่า รัฐบาลมีนโยบายที่สำคัญอยู่ 2-3 นโยบาย ในการแก้ไขปัญหาของชาวนานั่นคือ 1.ชลประทาน 2.การจัดหาทุนโดยวิธีการสหกรณ์ 3.การพยายามส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร
แต่มีหลายคนตั้งขอสังเกตว่า รัฐบาลมีบทบาทค่อนข้างน้อย ในการแก้ไขปัญหาให้แก่ชาวนา ไม่ว่าในด้านการผลิต หนี้สิน หรือ การตลาด ความกระตือรือร้นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีวิกฤติการณ์บางอย่างเกิดขึ้น

2.นอกจากนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังมีนักคิดหลายคนได้เขียนแสดงความคิดเห็นทั้งในด้านหัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเศรษฐกิจไทย ปัญหาที่บุคคลเหล่านี้เห็นร่วมกันคือ "การที่เศรษฐกิจไทยถูกครอบงำโดยคนต่างชาติ" โดยเฉพาะคนจีน ปัญหาการขาดแคลนทุน และ บริการด้านพื้นฐานจากรัฐบาล ตลอดจน "ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้"
วิธีแก้ไขคือ "รัฐบาลจะต้องมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการเข้ามาเป็นผู้ดำเนินกิจการบางอย่างเป็นตัวอย่างแก่ภาคเอกชน" และ การออกกฎหมายต่าง ๆ ที่จะช่วยขจัดการเอารัดเอาเปรียบ ขจัดความไม่เท่าเทียมกัน
ข้อเสนอแนะปัจเจกบุคคล..ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทย
1.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุญนาค)
พระยาสุรยานุวัตร เคยไปรับราชการในต่างประเทศหลายประเทศ ตำแหน่งล่าสุดก่อนจะเดินทางกลับมาประเทศไทยคือ อัครราชฑูตประจำประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และ รุสเซีย
พระยาสุริยานุวัตร ได้แต่หนังสือ ชื่อ "ทรัพย์ศาสตร์ 3 เล่ม เล่ม 1 และ เล่ม 2 ตีพิมพ์ใน พ.ศ.2454 ส่วนเล่มล่าสุดท้ายตีพิมพ์ในพ.ศ.2477 เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 พระยาสุริยานุวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ทำหน้าที่ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาล
แนวคิดที่สำคัญของพระยาสุริยานุวัตร ในด้านการพัฒนาประเทศ คือ ระบบเศรษฐฏิจไทยต้องใช้ระบบการผลิตสมัยใหม่ ต้องมีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ส่วนในด้านการผลิตต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือ ที่ดิน แรงงาน และ ทุน ซึ่ง ทุน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่เป็นปัจจัยการผลิตที่ไทยขาดแคลนมากที่สุด นอกจากขากแคลนทุนแล้วระบบเศรษฐกิจไทย ยังมีปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม โครงสร้างของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยเป็นเหตุให้คนได้รับส่วนแบ่งปันผลของการผลิตต่างกัน ด้วยเหตุนี้พระยาสุริยานุวัตร จึงไม่เห็นด้วยกับระบบการแข่งขัน เพราะจะทำให้ฝ่ายที่แข็งแรงกว่าได้เปรียบและจะเอารัดเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า จึงพยายามสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างแรงงานกับนายทุน โดยใช้วิธี "การสหกรณ์" กำไรที่ได้จากกิจการสหกรณ์ก็จะนำมาแบ่งปันกันระหว่างเจ้าของทุนและแรงงานและเพื่อป้องกันการเอาเปรียบของผู้ที่แข็งแรงกว่า
2.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน)
รู้จักกันในนามของ "ครูเทพ" สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงธรรมการส่งไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกระทรวงธรรมการ มีความก้าวหน้าในราชการมาโดยตลอด จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการใน พ.ศ.2459 และอยู่ในตำแหน่งจนถึง พ.ศ.2469 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ เป็น "ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก" ของประเทศไทย
แนวความคิดของครูเทพต่อเศรษฐกิจไทย
ประเด็นแรกคือ ต่างชาติเข้ามาทำมาหากินและกอบโดยผลประโยชน์จากไทย และ คนไทยเองไม่มีทางที่จะแข่งขันกับคนจีนในด้านการค้าได้
ประเด็นที่สองคือ ครูเทพเกรงว่าในไม่ช้าจะทำให้เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนารายเล็ก ๆ ต้องหมดไปกลายเป็นกรรมกรรับจ้าง เพราะสู้ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ได้
ประเด็นสุดท้าย คือ ปัญหาบางอย่างเกิดจากตัวชาวนาเอง คือ การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือ การที่ถูกำรัฐบาลเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น