วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
โรงรับจำนำ
ปัจจุบันโรงรับจำนำในประเทศไทยแบ่งตามลักษณะของผู้ดำเนินการได้ 2 ประเภท ได้แก่
1.โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยเอกชน
2.โรงรับจำนำที่ดำเนินการโดยรัฐบาล ประกอบด้วย
1)สถานธนานุเคราะห์ ดำเนินการโดยกรมประชาสงเคราะห์
2)สถานธนานุบาล ดำเนินการโดยเทศบาล
โดยทั่วไปทรัพย์สินที่จะจำนำ จะต้องเป็นสังหาริมทรัพย์ชนิดธรรมดา ซึ่งไม่มีการจดทะเบียนรูปพรรณมีมูลค่าไม่เกิน 10,000 บาท และต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาท โดยโรงรับจำนำจะประกอบธุรกิจอื่นที่นอกเหนือจากการรับจำนำไม่ได้ นอกจากนั้นยังห้ามขายทรัพย์สินที่หลุดจำนำภายในบริเวณที่รับจำนำ
บริษัทเครดิตฟองซิเอร์
การให้กู้ยืมส่วนใหญ่จะให้กู้ยืมเพื่อจัดหาที่อยู่อาศัย สำหรับบุคคลทั่วไป ประมาณร้อยละ 50 ของเงินทุนทั้งหมด การให้กู้เพื่อพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยประมาณร้อยละ 15 ของเงินทุนทั้งหมด การรับเหมาก่อสร้างและธุรกิจเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ประมาณร้อยละ 9 ของเงินทุนทั้งหมด การธนาคารและธุรกิจการเงินประมาณร้อยละ 7 ของเงินทุนทั้งหมด และให้กู้เพื่อกิจการอื่น ๆ ประมาณร้อยละ 19 ของเงินทุนทั้งหมด
การดำเนินงานของธุรกิจเงินทุนและธุรกิจเงินทุนหลักทรัพย์
ทางด้านการดำเนินงานของบริษัทเงินทุนจะต้องอยู่ภายใต้เงื่อไขของพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ พ.ศ.2522 ดังนี้
1.การดำรงสินทรัพย์สภาพคล่อง บริษัทเงินทุนต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นอัตราส่วนกับเงินที่ได้จากการกู้ยืม หรือ ได้รับจากประชาชนตามอัตราส่วนกับเงินที่ได้จากการกู้ยืม หรือ ได้รับจากประชาชนตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด คือ ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 7 แต่ทั้งนี้ต้องดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินฝากที่ธนาคารแห่งประเทศไทยไม่ต่ำหว่าร้อยละ 0.5 ของยอดเงินที่บริษัทเงินทุนมีหน้าที่ต้องชำระคืน และหลักทรัพย์รัฐบาลไทยซึ่งปราศจากภาระผูกพัน อันได้แก่ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตร รวมกับหุ้นกู้หรือพันธบัตรที่กระทรวงการคลังค้ำประกันเงินต้น และดอกเบี้ยที่ปราศจากภาระผูกพันรวมกันไม่ต่ำกว่าร้อยละ 5 ของยอดเงินต้นที่บริษัทเงินทุนมีหน้าที่จะต้องชำระคืนดังกล่าว การกำหนดให้มีการดำรงสินทรัพย์สภาพคล่องก็เพื่อให้บริษัทเงินทุนมีความคล่องตัวในการประกอบกิจการ
2.การดำรงเงินกองทุน บริษัทเงินทุนต้องดำรงเงินกองทุน เมื่อสิ้นวันทำการหนึ่ง ๆ ดังนี้
1.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับสินทรัพย์เสี่ยง
2.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับจำนวนเงินที่รับรองและ/หรือรับอาวัลตั๋วเงิน
3.เงินกองทุนเป็นอัตราส่วนกับยอดเงินกู้ยืมหรือรับจากประชาชนทั้งหมด หรือยอดเงินกู้ยืมแต่ละประเภท
ทั้งนี้อัตราส่วนดังกล่าวต้องไม่ต่ำกว่าอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด และด้วยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ซึ่งในพ.ศ.2534 ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนดให้บริษัทดำรงเงินกองทุนเมื่อสิ้นวันหนึ่ง ๆ ไม่ต่ำกว่ารอ้ยละ 6 ของสินทรัพย์เสี่ยงและไม่ต่ำหว่าร้อยละ 25 ของจำนวนเงินที่รับรองและ/หรือาวัลตั๋วเงิน
3.การให้กู้ยืมและ/หรือการลงทุน ในพ.ศ.2534 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้กำหนดให้บริษัทเงินทุนจะให้กู้ยืมและ/หรือลงทุนในกิจการของบุคคลใดบุคคลหนึ่งรวมกันเกินกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุนของบริษัทไม่ได้เว้นแต่จะได้รับอนุญาต ต่อมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้อนุมัติให้ขยายกิจการลงทุนในหลักทรัพย์เพิ่มจากร้อยละ 60 เป็นร้อยละ 100 ของเงินกองทุน แต่ทั้งนี้ธนาคารแห่งประเทศไทยจะพิจารณาสิทธิในการขยายเงินลงทุนในหลักทรัพย์ให้กับบริษัทเงินทุน หรือ บริษัทหลักทรัพย์เป็นราย ๆ ไป
อนึ่ง ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 1) พ.ศ.2526 ได้เพิ่มอำนาจการควบคุมของธนาคารแห่งประเทศไทยในกรณีที่บริษัทเงินทุนมีผลการดำเนินงานที่ขาดทุนไว้ในมาตรา 26 ทวิ
1)บริษัทเงินทุนที่ขาดทุนและทำให้เงินกองทุนลดลงเหลือ 3 ใน 4 ของทุนที่ชำระแล้ว ห้ามบริษัทเงินทุนนั้นให้กุ้ยืมเงินหรือรับเงินจากประชาชนต่อไป ในการให้ความเห็นชอบดังกล่าว จะกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการกู้ยืม หรือ การลงทุน หรือ กำหนดเงื่อนไขใด ๆ ก็ได้
2)บริษัทเงินทุนที่ขาดทุนและเงินกองทุนลดเหลือไม่เกินครึ่งหนึ่งของทุนที่ชำระแล้ว ต้องระงับดำเนินกิจการ และให้เสนอโครงการแก้ไขฐานะการเงินให้ธนาคารแห่งประเทศไทยให้ความเห็นชอบภายใน 14 วัน หากธนาคารแห่งประเทศไทยไม่เห็นชอบ บริษัทเงินทุนสามารถอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 14 วัน นับตั้งแต่วันรับแจ้งผลการวินิจฉัยโครงการ
นอกจากนี้บริษัทเงินทุนจะต้องดำเนินการในการให้สินเชื่อตามมาตรการควบคุมสินเชื่อเฉพาะอย่างของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งจะกำหนดอัตราการให้กู้ยืมแก่กิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือกำหนดวงเงินสูงสุดที่บริษัทเงินทุนจะให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์หรือสังหาริมทรัพย์ประเภทใดประเภทหนึ่ง
วันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
บริษัทเงินทุนและบริษัทหลักทรัพย์
1.บริษัทเงินทุน หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเงินทุนอันได้แก่ กิจการเงินทุน เพื่อการพาณิชย์ กิจการเงินทุนเพื่อการพัฒนา กิจการเงินทุนเพื่อการจำหน่ายและบริโภค และ กิจการเงินทุนเพื่อการเคหะ
2.บริษัทหลักทรัพย์ หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์ประกอบกิจการด้านการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ ทำการค้าหลักทรัพย์ ให้คำปรึกษาในการลงทุนกิจการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ และ กิจการจัดการลงทุน เป็นต้น
3.บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ (บงล.) หมายถึง บริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจ เงินทุน และ หลักทรัพย์ ควบคู่กันไปทั้งสองอย่าง ซึ่งจัดว่าเป็นกลุ่ม "ใหญ่ที่สุด" ของกลุ่มบริษัทเหล่านี้
บริษัทเงินทุน
บริษัทเงินทุนมีลักษณะการประกอบธุรกิจคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์กล่าวคือ ทำหน้าที่ระดมเงินจากประชาชนด้วยการออกตั๋วสัญญาใช้เงิน และ นำเงินนั้นไปหาผลประโยชน์ในลักษณะต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด การดำเนินงานของบริษัทเงินทุนแบ่งออกเป็น
1.การให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจรายใหญ่..เป็นบริการคล้ายคลึงกับธนาคารพาณิชย์แต่ไม่สามารถให้บริการเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศ และ บัญชีกระแสรายวันที่ใช้เช็คสั่งจ่ายในการรับฝากเงิน บริษัทเงินทุนจะไม่ออกสมุดรับฝากเงินเพื่อเป็นหลักฐานการฝากเงิน แต่จะออกตั๋วสัญญาใช้เงินให้แก่ผู้ให้กู้ยืม(ผู้ฝาก) โดยจะกำหนดเวลาชำระคืนเอาไว้ เช่น เมื่อทวงถาม 1 เดือน 3 เดือน หรือ 1 ปี การระดมเงินออมของบริษัทเงินทุนจะเสียเปรียบธนาคารพาณิชย์เพราะมีการกำหนดวงเงินขึ้นต่ำที่จะกู้ยืมจำนวนสาขามีน้อยหรือไม่มีเลย แต่การให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าธนาคารพาณิชย์สามารถทดแทนความเสียเปรียบข้างต้นได้ สำหรับการใช้สินเชื่อแก่ธุรกิจรายใหญ่มีการให้กู้ทั้งประเภทระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี หรือ ระยะยาวเกิน 1 ปี
2.การให้กู้ยืมแก่ธุรกิจการค้าทั่วไป เป็นการให้บริการทางการเงินเหมือนธนาคารพาณิชย์ คือ เป็นการให้กู้ยืมแก่ธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดเล็ก บริษัทการค้าธรรมดา ร้านค้า และผู้ประกอบอาชีพอิสระ เช่น แพทย์ วิศวกร ซึ่งลักษณะการให้กู้จะเป็นการให้กู้ในวงเงินไม่สูงนัก และ เป็นการกู้ระยะสั้น
3.การให้กู้ยืมแก่ผู้บริโภค เป็นการให้บริการเงินกู้แก่บุคคลธรรมดา เพื่อการศึกษา เดินทาง หรือการซ่อมแซมบ้านเรือน การให้เงินกู้เพื่อผ่อนส่งสินค้าเมื่อตกลงจะให้เช่าซื้อ และการให้กู้ยืนแก่ผู้ดำเนินธุรกิจ การจำหน่ายสินค้าโดยการให้เช่าซื้อเช่น รถยนต์ รถแทรกเตอร์ ตลอดจนเครื่องอำนวยความสะดวกภายในบ้าน เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า คอมพิวเตอร์ ระยะเวลาการกู้เงินเป็นระยะป่านกลางไม่เกิน 3 ทั้งนี้รวมถึงการให้กู้เพื่อซื้อบ้านและที่ดิน ซึ่งธนาคารพาณิชย์และเครดิตฟองซิเอร์เข้ามาบริการด้วย
บริษัทหลักทรัพย์
บริษัทหลักทรัพย์เป็นบริษัทรับอนุญาตที่ดำเนินกิจการเกี่ยวกับหลักทรัพย์รวมทั้งการเป็นที่ปรึกษาการลงทุนซึ่งเป็นธุรกิจสำคัญ โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(กสต.) บริษัทหลักทรัพย์ให้บริการต่าง ๆ ดังนี้
1.การรับประกันการขายหุ้นหรือหุ้นกู้ออกใหม่(underwriting) โดยบริษัทหลักทรัพย์จะเป็นตัวกลางระหว่างบริษัทที่ต้องการเงินเพิ่มทุนจำนวนมากและในเวลาจำกัด กับผู้ที่จะลงทุนซื้อหุ้นหรือหุ้นกู้ บริษัทหลักทรัพย์จะทำหน้าที่วิเคราะห์ฐานะของบริษัท รวบรวมข้อมูลที่สำคัญและจำเป็นต่อการตัดสินใจของผู้ลงทุน และเผยแพร่ให้ผุ้ลงทุนทราบ
บริษัทหลักทรัพย์จะประกันการขายหุ้น โดยอาจจะรับประกันการจำหน่าย ถ้าหากขายหุ้นได้ไม่หมดก็จะรับซื้อไว้เอง หรืออาจเป็นเพียงตัวกลางการขายหุ้นโดยไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในการซื้อหุ้น หรือหุ้นกู้นั้น ๆ เมื่อขายไม่หมด บริษัทหลักทรัพยืจะได้รับค่าธรรมเนียมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของราคาหุ้น หรือ หุ้นกู้ที่นำออกขาย
2.การค้าหลักทรัพย์ คือ การที่บริษัทหลักทรัพย์ซื้อและขายหุ้นเพื่อการลงทุนของบริษัทเอง ถือว่าเป็นการลงทุนโดยหวังผลประโยชน์จากเงินปันผลของหุ้นที่ได้ซื้อไว้
3.การเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ โดยเป็นตัวแทนทำการแทนลูกค้าในการซื้อหรือขายหลักทรัพย์(ไม่ได้ลงทุนเอง) บริษัทหลักทรัพย์จะคิดค่าบริการเท่ากับร้อยละ 0.5 ของราคาหุ้นที่ซื้อและขายแต่ละครั้ง พร้อมทั้งทำหน้าที่โอนหุ้นให้กับผู้ซื้อและผู้ขาย
4.การจัดการลงทุน การประกอบธุรกิจจัดการกองทุนรวม เดิมมีเพียงบริษัทหลักทรัพย์กองทุนรวม ที่ได้รับอนุญาตทำธุรกิจประเภทนี้ ต่อมาทางการได้อนุญาตให้มีการจัดตั้งบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม(บลจ.) เพิ่มขึ้นในปี 2535 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีผู้ลงทุนประเภทสถาบันในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น เป็นการสร้างเสถียรภาพให้กับตลาดหลักทรัพย์
5.การเป็นที่ปรึกษาการลงทุน คือ การให้คำแนะนำแก่ประชาชนไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อมเกี่ยวกับการวิเคราะห์และประเมินมูลค่าของหลักทรัพย์หรือความเหมาะสมในการลงทุนที่เกี่ยวกับหลักทรัพย์ของธุรกิจและกิจการของธุรกิจโดยได้รับค่าตอบแทนในรูปของค่าธรรมเนียม
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ตั้งขึ้นครั้งแรกในรูปของบริษัทค้าหลักทรัพย์ก่อนเมื่อ พ.ศ.2496 โดยใช้ชื่อว่าบริษัท เบิร์ด จำกัด ในระยะแรกบริษัทนี้ได้ประกอบกิจการการสั่งสินค้าเข้าและการส่งออกเป็นหลักจนกระทั่ง พ.ศ.2506 จึงได้ดำเนินการธุรกิจนายหน้าค้าหุ้นหรือหลักทรัพย์อย่างจริงจัง และ ในพ.ศ.2503 กลุ่มเอกชน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศได้จัดตั้งสถาบันการเงินประเภท บริษัทจัดการลงทุน(Investement Management Company) ซึ่งดำเนินกิจการลักษณะ กองทุนรวม(Mutual Fund) โดยใช้ชื่อว่า กองทุนรวมไทย และ ในพ.ศ.2505 กลุ่มอุตสาหกรรมไทยเอกชนร่วมกันจัดตั้งกิจการดำเนินงานในลักษณะสถานปริวรรตหุ้น (Stock Exchange)หรือที่เรียกว่าตลาดหลักทรัพย์โดยใช้ชื่อว่า บริษัท ตลาดหุ้นกรุงเทพ จำกัด (Bangkok Stock Exchange) ในปีต่อ ๆ มามีบริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
บริษัทเงินทุนและหลักทรัพย์ ทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชนแล้วนำเงินออมไปหาผลประโยชน์ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด นอกจากนั้นก็ยังทำหน้าที่เป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ด้วย อย่างไรก็ตามธุรกิจบางแห่งก็จัดตั้งเป็นบริษัทเงินทุนอย่างเดียวโดยทำหน้าที่ในการระดมเงินออมจากประชาชนและนำเงินไปลงทุน เพื่อการพัฒนากิจการ เพื่อการบริโภคและการเคหะ เป็นต้น และบางแห่งก็ตั้งเป็นบริษัทหลักทรัพย์อย่างเดียว เพื่อประกอบธุรกิจการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์
ธนาคารอาคารสงเคราะห์
การดำเนินงานของธนาคารอาคารสงเคราะห์
ในพระราชบัญญัติธนาคารอาคารสงเคราะห์ พ.ศ.2496 มาตรา 27 (แก้ไขเมื่อ พ.ศ.2515) ได้กำหนดธุรกิจของธนาคารไว้ดังนี้คือ
1.ให้กู้ยืมเงินเพื่อประโยชน์ดังต่อไปนี้
1)เพื่อผู้กู้จะได้ใช้ซื้อที่ดิน หรือ อาคารเป็นของตนเอง
2)เพื่อผู้กู้จะได้ใช้สำหรับสร้าง ขยาย หรือ ซ่อมแซมอาคารของตนเอง
3)เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ไถ่ถอน จำนอง อันผูกพันที่ดิน หรือ อาคารของตนเอง
4)เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ไถ่คืน ซึ่งการขายฝากที่ดิน หรือ อาคารของตนเอง
5)เพื่อผู้กู้จักได้ใช้ในการลงทุนจัดกิจกรรมเคหะ
2.รับจำนำ หรือ จำนองทรัพย์สินเพื่อเป็นประกันเงินกู้ยืม
3.รับฝากเงินที่ต้องจ่ายคืนเมื่อทวงถาม หรือ เมื่อสิ้นระยะเวลาที่กำหนด
4.กิจการอันพึงเป็นงานธนาคารตามที่จะมีพระราชกฤษฎีกาที่กำหนดไว้
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)
การดำเนินงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ประเภท คือ การให้บริการรับฝากเงิน และ การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร
1.การให้บริการฝากเงิน ธกส. จะให้บริการรับฝากเงินจากประชาชนทั่วไป 3 ประเภท ได้แก่ เงินฝากประเภทกระแสรายวัน ประเภทออมทรัพย์ และประเภทประจำ
2.การให้สินเชื่อแก่เกษตรกร โดยทั่วไป ธกส. จะให้สินเชื่อแก่บุคคลและสถาบันต่าง ๆคือ เกษตรกรรายบุคคล สหกรณ์การเกษตร กลุ่มเกษตรกร นิติบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร และผู้ที่ไม่ได้เป็นเกษตรกร แต่ฝากเงินไว้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
การให้กู้แก่เกษตรกรรายบุคคล การให้กู้แก่เกษตรกรรายบุคคลอาจแบ่งตามระยะเวลาของการชำระคืนได้ 3 ประเภทได้แก่
3.1.การให้กู้แก่เกษตรกรรายบุคคล อาจแบ่งตามระยะเวลาของการชำระคืนได้ 3 ประเภท ได้แก่
1)เงินกู้ระยะสั้น เป็นเงินกู้ที่ต้องใช้คืนในเวลาไม่เกิน 1 ปี ในกรณีที่มีเหตุพิเศษต้องไม่เกิน 18 เดือน การกู้ระยะสั้นส่วนใหญ่เพื่อที่จะนำไปเป็นค่าใช้จ่ายในการผลิตในช่วงฤดูหนึ่ง ๆ เช่น ค่าพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ปุ๋ย อาหารสัตว์ ค่าจ้างแรงงาน เป็นต้น เงินกู้ประเภทนี้เกษตรกรจะต้องนำหลักทรัพย์ต่าง ๆ ได้แก่โฉนดที่ดิน หลักทรัพย์รัฐบาลไทย เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ เงินฝากกับธกส. มาจำนองกับธนาคาร หรือ ถ้าไม่มีหลักทรัพย์ก็จะต้องหาบุคคลที่เชื่อถือได้ในกลุ่มลูกค้า 2 คน มาค้ำประกันและค้ำประกันได้ไม่เกินวงเงินที่ ธกส. กำหนดไว้ ถ้าเกินกว่านั้นจะต้องนำเอาอสังหาริมทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดินมาจำนองกับ ธกส.
2)เงินกู้ระยะปานกลาง เป็นเงินกู้ที่ให้เวลาของการชำระคืนเป็นงวดไม่เกิน 3 ปี ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่เกิน 5 ปี การกู้ระยะปานกลางเป็นเงินกู้เพื่อการลงทุนในทรัพย์สินการเกษตร ซึ่งปกติใช้ประโยชน์ได้เกินกว่าฤดูการผลิตหนึ่ง ๆ เช่น ซื้อที่ดินสร้างโรงเรือนการเกษตร บุกเบิก หรือ ปรับปรุงที่ดินการเกษตร ทำสวน ซื้อสัตว์ใช้งาน หรือ เครื่องจักรต่าง ๆ เงินกู้ประเภทนี้เกษตรกรจะต้องมีหลักทรัพย์ เช่น โฉนดที่ดิน หลักทรัพย์รัฐบาลไทย หรือ เงินฝากกับ ธกส. ตามจำนวนที่กำหนดมาจำนองกับธนาคาร หรือ อาจจะให้บุคคลในกลุ่มลูกค้ามาค้ำประกันก็ได้ แต่ไม่เกินวงเงินที่ ธกส. กำหนดไว้
3)เงินกู้ระยะยาว เป็นเงินกู้ที่ให้ระยะเวลาของการชำระคืนเป็นรายงวดไม่เกิน 15 ปี ในกรณีที่มีเหตุพิเศษไม่เกิน 20 ปี เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตรเป็นเงินกู้เพื่อปรับปรุงที่ดิน เช่น การทำสวนไม้ยืนต้น การทำฟาร์มกุ้ง การซื้อเครื่องจักร ซื้อที่ดินเพิ่มเติม เป็นต้น
เกษตรกร..ผู้จะกู้เงินจาก ธกส. ได้ จะต้องเป็นลูกค้าของ ธกส. ซึ่งกระทำได้โดยการขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้า
ในบางกรณีลูกค้าของ ธกส. จะมีลักษณะเป็นกลุ่มที่เรียกว่า "กลุ่มลูกค้า ธกส. กลุ่มลูกค้า หมายถึง กลุ่มของเกษตรกรผู้ซึ่งได้ขอขึ้นทะเบียนเป็นลูกค้าของ ธกส. โดยลูกค้าเหล่านี้ตั้งบ้านเรือนอยู่ใกล้เคียงกันและมีความสนิทสนมใกล้ชิดกัน จำนวนตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป สมัครใจเข้ารวมกลุ่มกันโดยมีความประสงค์ที่จะกู้เงินจาก ธกส. เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายลงทุนในการประกอบอาชีพการเกษตร โดยใช้หลักประกันรับรองรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วมกัน หรือ ค้ำประกันซึ่งกันและกัน
ในการให้บริการสินเชื่อแก่เกษตรกรรายคนนั้น ธกส.ให้สินเชื่อทั้งในรูปของเงินกู้ที่เป็นเงินสด และกู้ในรูปของวัสดุอุปกรณ์การเกษตร
3.2การให้สินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตร การให้สินเชื่อแก่สหกรณ์การเกษตรนี้รวมถึงชุมชนสหกรณ์การเกษตรซึ่ง ธกส. ได้ให้กู้สำหรับการดำเนินงานโดยแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่
1) เงินกู้เพื่อเป็นทุนให้แก่สมาชิกกู้ เป็นเงินกู้ที่สหกรณ์การเกษตรกู้เพื่อให้สมาชิกกู้ต่อสำหรับไปลงทุนในการเกษตรของสมาชิกแต่ละคน โดยสหกรณ์การเกษตรจะเป็นผู้ดำเนินงานสินเชื่อต่อสมาชิกเอง
2)เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนเหมุนเวียนในการดำเนินการขายผลิตผลการเกษตร เงินกู้ประเภทนี้ให้กู้แก่สหกรณ์การเกษตรเพื่อใช้เป็นทุนในการรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกเพื่อนำมาจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง
3)เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินการจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร เช่น ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง เครื่องมือการเกษตร เพื่อจำหน่ายให้แก่สมาชิก
4)เงินกู้เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพัฒนาการเกษตร เงินกู้ระยะยาวเพื่อการเกษตรประเภทนี้ สหกรณ์นำไปใช้ลงทุนเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาการเกษตร ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล การลงทุนเพื่อจัดให้มีสินทรัพย์ประจำสำหรับบริการด้านการแปรรูปหรือการขายผลิตผลการเกษตร รวมทั้งลงทุนในสินทรัพย์ประจำอื่น ๆ ตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์
3.3การให้สินเชื่อแก่กลุ่มเกษตรกร ธกส. ให้สินเชื่อแก่กลุ่มเกษตรกร 4 ประเภทได้แก่
1)เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนสำหรับให้สมาชิกกู้ ธกส. ให้กู้เงินแก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปให้สมาชิกกู้ต่อ เพื่อการลงทุนและขยายกิจการผลิตสินค้าเกษตร
2)เงินกู้เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียน ในการดำเนินการขายผลิตผลการเกษตร กลุ่มเกษตรกรนำเงินกู้นี้ไปใช้เป็นทุนในการรวบรวมผลิตผลจากสมาชิกเพื่อนำมาจำหน่ายอีกทอดหนึ่ง
3)เงินกู้เพื่อจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตร ธกส. ให้เงินกู้ประเภทนี้แก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปใช้เป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานจัดหาวัสดุอุปกรณ์การเกษตรมาจำหน่ายแก่สมาชิกและเกษตรกร
4)เงินกู้เพื่อใช้ลงทุนในโครงการพัฒนาเกษตร ธกส. ให้เงินกู้ประเภทนี้แก่เกษตรกร เพื่อนำไปใช้ตามโครงการพัฒนาการเกษตรซึ่งได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล การลงทุนเพื่อจัดให้มีสินทรัพย์ประจำสำหรับกิจกรรมการแปรรูปหรือการขายผลิตผลการเกษตรสินทรัพย์ประจำอื่น ๆ ตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจของกลุ่มเกษตรกร
ธนาคารออมสิน
การดำเนินงานของธนาคารออมสิน
ปัจจุบันธนาคารออมสินได้ขยายขอบเขตของการดำเนินธุรกิจอย่างกว้างขวางมากขึ้น ซึ่งอาจสรุปลักษณะการดำเนินงานที่สำคัญได้ ๒ ด้านคือ
๑.ธุรกิจและการบริการ ธนาคารออมสินประกอบการดำเนินงานด้านธุรกิจและการบริการแยกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้
"การรับฝากเงิน การจำหน่ายตราสาร ธุรกิจด้านการประกันชีวิต การบริการต่าง ๆ (ได้แก่ การรับจ่ายและโอนเงิน จำหน่ายตั๋วแลกเงินเพื่อเดินทางภายในประเทศ จำหน่ายตั๋วแลกเงินของขวัญ ให้เช่าตู้นิรภัย) การให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชี การอำนวยความสะดวกอื่น ๆ
ธนาคารออมสินได้จัดบริการเพื่ออำนวยความสะดวกด้านอื่น ๆ ให้แก่ผู้ฝาก ได้แก่ บริการฝาก-ถอนเงินต่างสำนักงานได้ทุกสาขาในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดใกล้เคียง บริการรับฝากเงินเป็นกลุ่ม โดยส่งพนักงานออกไปให้บริการรับปากเงินตามสถานที่ราชการ บริษัทห้างร้าน โรงงาน และที่ซึ่งได้แจ้งความประสงค์จะให้ธนาคารเข้าไปรับฝากเงิน บริการจ่ายเงินเดือนแทนให้ส่วนราชการ เป็นต้น
๒.การลงทุนและการแสวงหาผลประโยชน์
ปัจจุบันธนาคารออมสินมีการลงทุนและแสวงหาผลประโยชน์หลายทางด้วยกัน คือ
๑.การลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาล ธนาคารออมสินลงทุนในหลักทรัพย์รัฐบาลเป็นสัดส่วนสูงกว่าลงทุนด้านอื่น หลักทรัพย์รัฐบาลที่ธนาคารออมสินถือส่วนใหญ่ คือ "พันธบัตร และ ตั๋วสัญญาใช้เงิน"นอกจากนั้นเป็นหลักทรัพย์อื่น ๆ
๒.การให้กู้ยืมแก่ส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจเพื่อส่งเสริมกิจการด้านอุตสาหกรรมและสาธารณูปโภค
๓.การให้กู้ยืมแก่เอกชน เพื่อการจัดหาที่อยู่อาศัยของตนเอง ส่งเสริมการศึกษาสำหรับปลูกสร้างและซ่อมแซมอาคารเรียน ตลอดจนการให้กู้ยืมและเบิกเงินเกินบัญชีโดยใช้เงินฝากประจำ ๑๒ เดือนค้ำประกัน และให้สินเชื่อสวัสดิการสำหรับข้าราชการและพนักงานองค์การของรัฐที่มีรายได้น้อย
ตลาดการเงินในระบบ
ตลาดเงินและตลาดทุน
ตลาดการเงินในระบบแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ตลาดเงินและตลาดทุน ตลาดเงินเป็นตลาดการเงินระยะสั้น ปกติอายุไม่เกิน 1 ปี ส่วนตลาดทุนเป็นตลาดการเงินระยะยาว มีความสำคัญช่วยจัดหางินทุนให้แก่ธุรกิจเพื่อนำไปพัฒนาธุรกิจในระยะยาว ทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มสูงขึ้น
ตลาดเงิน..ระยะเวลาในการให้กูยืม สั้นไม่เกิน 1 ปี มีความเสี่ยงต่ำ ประเภทของสถาบัน ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารกลาง ผู้ค้ำหลักทรัพย์ระยะสั้น วัตถุประสงค์เพื่อใช้เป็นทุนหมุนเวียนของธุรกิจ
ตลาดทุน..ระยะเวลาในการกู้ยืนยาวเกิน 1 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงสูงเพราะระยะเวลานาน ใช้หลักทรัพย์หุ้นทุน หุ้นกู้ สถาบันในตลาด ตลาดหุ้น บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต กองทุนบำเหน็จ บำนาญ วัตถุประสงค์เพื่อลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ส่วนใหญ่ใช้วิธีประมูลราคา
สถาบันการเงิน
สถาบันการเงินเป็นแหล่งกลางที่ทำหน้าที่ในรูปของการกู้ยืมและให้กู้ยืม โดยสถาบันการเงินมีทั้งสถาบันการเงินในระบบและสถาบันการเงินนอกระบบ
สถาบันการเงินแบ่งเป็น 2 ประเภท
1.ประเภทที่พิจารณาตามอายุของหลักทรัพย์ที่สถาบันการเงินนั้นได้ออกหรือทำการซื้อขายคือ..สถาบันการเงินในตลาดเงิน เช่น ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และบริษัทเงินทุนบางบริษัทที่ออกตั๋วสัญญาใช้เงินอายุครบกำหนดไม่เกิน 1 ปี ...สถาบันการเงินในตลาดทุน หลักทรัพย์ที่มีอายุครบกำหนดมากกว่า 1 ปี โดยใช้เครื่องมือทางการเงินต่าง ๆ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน ที่มีอายุครบกำหนดเกิน 1 ปี
2.ประเภทของสถาบันการเงินแบ่งเป็น 4 ประเภท คือ...เกี่ยวกับการรับฝากเงิน..สถาบันการเงินที่มีสัญญาผูกพันกับแหล่งเงิน..สถาบันการเงินที่ระดมทุนโดยการออกเครื่องมือทางการเงิน เช่น การออกหุ้นกู้ ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารที่มีลักษณะเดียวกัน..สถาบันการเงินที่มีหน้าที่หลักในการให้กู้ ได้แก่ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย โรงรับจำนำ
สถาบันการเงินในประเทศไทย
สถาบันการเงินในประเทศไทยที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับมีจำนวนทั้งสิ้น 13 สถาบัน ได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟองซิเอร์ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธนาคารอาคารสงเคราะห์ บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย บรรษัทธนกิจอุตสาหกรรมขนาดย่อม สหกรณ์การเกษตร สหกรณ์ออมทรัพย์ บริษัทประกันชีวิต โรงรับจำนำ และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า
วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
นโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมพ.ศ.2475(หลวงวิจิตรวาทการ)
สรุปสาะสำคัญของนโยบายเศรษฐกิจชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ
1.รัฐจะซื้อที่ดินจากเจ้าของที่ดินเป็นคราว ๆ ไป แต่ไม่ใช่เอามาเป็นของรัฐเองแบบข้อเสนอของนายปรีดี พนมยงค์ หลวงวิจิตรวาทการเห็นว่าคนไทยทุกคนต้องมีที่ดินไว้เป็นกรรมสิทธิ์ตามควรแก่อัตภาพ เพราะมนุษย์ซึ่งติดที่ดินและหาเลี้ยงชีพบนที่ดินย่อมรักชาติและรักประทศมากกว่ามนุษย์ที่มีอาชีพเร่ร่อน
2.ระบบเศรษฐกิจชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการยึดหลัก "ชาติเป็นจุดหมาย สหกรณ์เป็นวิธีการ"โดยที่แนวคิดเรื่องสหกรณ์ของหลวงวิจติรวาทการมิได้ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิต หากแต่เป็นการสนับสนุนการรวมตัวกันของชนชั้นกลางในด้านการผลิต และการค้าในรูปของสหกรณ์ เช่น การทำนา ทำสวน เลี้ยงสัตว์ ตลอดจนให้ผู้ประกอบการได้รวมตัวกันในรูปของสมาคมอาชีพ เช่น สมาคมธนาคาร สมาคมประกันภัย
3.ในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เป็นอุตสาหกรรมนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนให้คนไทยเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจการที่แสวงหากำไรอย่างกว้างขวาง ในกรณีที่ประชาชนยังไม่มีความสามารถเข้าร่วมได้ รับบาลก็จะเป็นผู้นำในการริเริ่มหรือเข้าไปมีส่วนร่วมเอง นั่นก็คือ "การก่อตั้งรัฐวิสาหกิจ"
เป็นที่น่าสังเกตว่า แนวคิดชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการแตกต่างจากเค้าโครงการเศรษฐกิจของ นายปรีดี พนมยงค์ ในหลายประการด้วยกัน เช่น หลวงวิจิตวาทการเสนอระบบเศรษฐกิจใหม่ต่อต้านศักดินาเดิม แต่เป็นรูปแบบที่อ่อนกว่าข้อเสนอของ นายปรีดี พนมยงค์ เพราะการซื้อที่ดินของรัฐทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ระบบสหกรณ์ของหลวงวิจิตรวาทการสนับสนุนกระฎุมพีน้อย ข้าราชการ พ่อค้าแม่ค้าย่อย และชาวนา เป็นลำดับแรก ไม่ได้ขัดขวางการขยายตัวของนายทุนอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ แต่ทั้งหมดนี้ต้องอยู่ภายใต้การควบคุมของชาติ ซึ่งขณะนั้นย่อมหมายถึง ภายใต้ระบบราชการที่บงการโดยหลวงพิบูลสงคราม(ฉัตรทิพย์ 2527:559)
การสนับสนุนการเจริญเติบโตของชนชั้นกลาง แนวคิดของหลวงวิจิตรวาทการจึงเป็นพื้นฐานของ "ระบบทุนนิยมที่นำโดยรัฐ (State Capialism) ซึ่งแตกต่างจากแนวความคิดของ นายปรีดี พนมยงค์ ที่เป็นแนวคิดต่อต้านศักดินาเหมือนกัน แต่โน้มไปทางซ้ายด้วยการยกฐานะชาวนาเป็นสำคัญ
การแสวงหาแนวคิดใหม่ทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2475-2488
นับตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ.2461 เป็นต้นมา) จนถึง พ.ศ.2475 ทุนชาวจีนโพ้นทะเลเริ่มมีบทบาทสำคัญแทนที่คุนตะวันตกรวมทั้งทุนของพระคลังข้างที่และกลุ่มศักดินา
พื้นฐานทุนนิยมไทย ก่อนพ.ศ.2475 ทุนนิยมของชาวจีนเริ่มมีบทบาทสำคัญในการย่างก้าวเข้ามาแทนที่ทุนตะวันตกและก้าวล้ำหน้ากลุ่มทุนของพระคลังข้างที่ จนมีส่วนสำคัญในพื้นฐานทุนนิยมไทยในช่วงก่อน พ.ศ.2475
ปัจจัยเกื้อหนุนประการแรก เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในกรุงเทพฯที่ดำเนินการโดยชาวจีนเป็นสำคัญ ทวีศิลป์ สืบวัฒนะ ได้สรุบว่าการทีคนจีนสามารถควบคุมกิจการโรงสีและชนะคนตะวันตกได้เพราะ 1)คนจีนสามารถควบคุมการตลาดภายในประเทศและค่างประเทศ 2)โรงสีของคนจีนได้เปรียบในเรื่องแหล่งเงินทุนกู้ยืม 3)โรงสีของคนจีนเป็นผู้ริเริ่มการสีข้าวสาร คนตะวันตกยังสีเป็นข้าวกล้อง นายทุนจีนจึงเป็นผู้ประกอบการสำคัญต่อการค้าขายของกรุงเทพฯ ปัจจัยเกื้อหนุนนายทุนจีนอีกประการคือ การพัฒนาระบบการชนส่งระหว่างประเทศ ซึ่งการส่งออกข้าวของไทยส่วนใหญ่จะส่งไปยังตลาดสิงคโปร์และฮ่องกง
2.เค้าโครงการเศรษฐกิจของคณะราษฎรและแนวคิดเศรษฐกิจชาตินิยม
เค้าโครงการเศรษฐกิจของคณะราษฎรซึ่งร่างโดย "นายปรีดี พนมยงค์" เน้นการใช้รัฐเข้ามามีบทบาทสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ โดยเข้าควบคุมปัจจัยการผลิตเรื่องทุนและที่ดิน รวมทั้งได้มีการเน้นบทบาทของสหกรณ์เป็นเครื่องมือในการช่วยรัฐบาลบริหารเศรษฐกิจ
แนวคิดเศรษฐกิจ "ชาตินิยมของหลวงวิจิตรวาทการ เน้นกาชาติเป็นจุดหมาย สหกรณ์เป็นวิธีการ" โดยสนับสนุนการเจริญเติบโตของชนชั้นกลาง ข้าราชการ พ่อค้า และนายทุนน้อย เป็นสำคัญ
นโยบาย 6 ประการ ของหลวงประดิษฐ์มนูธรรม หรือ นายปรีดีพนมยงค์ ซึ่งถือเป็น "มันสมอง" ของคณะราษฎรในขณะนั้น เขาได้รับอิทธิพลแนวคิดด้านสังคมนิยมจากการศึกษาวิชาประวัติลัทธิเศรษฐกิจ
เมื่อคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ปัญหาหลักทางเศรษฐกิจและสังคม คณะราษฎรได้มอบหมายให้ "นายปรีดี พนมยงค์" เป็นผู้ร่างนโยบายเศรษฐกิจของคณะราษฎร หรือ ที่เรียกกันว่า "เค้าโครงการเศรษฐกิจ"
เค้าโครงเศรษฐกิจของนายปรีดี เน้น การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการปรับปรุงการแบ่งปันผลผลิตในสังคม นั่นก็คือ มุ่งที่จะใช้ทรัพยากรการผลิตให้เต็มที่ด้วยการแปลงกระบวนการผลิตของไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม โดยรัฐจะเป็นผู้ลงทุนดำเนินการในขั้นแรกในรูปของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งใช้นโยบายการพึ่งตนเองเป็นหลัก ปราศจากการครอบงำของต่างชาติ และกำจัดความเหลื่อมล้ำของคนทั้งทางสังคม เศรษฐกิจ และ การเมือง
สาระสำคัญ..ของเค้าโครงการเศรษฐกิจ คือ เสนอให้มีการโอนกรรมสิทธิเอกชนเป็นของรัฐในเรื่องปัจจัยการผลิตทั้งที่ดินและทุน รวมทั้งให้รัฐกำกับการใช้ปัจจัยเหล่านั้น การโอนให้แก่รนัฐจะได้ผลตอบแทนในรูปพันธบัตรเงินกู้ ปัจจัยการผลิตที่รัฐโอนมาจะถูกนำไปแจกแจงให้ราษฎรทำกินตามกำลังสติปัญญาของแต่ละครอบครัว ทุนและโรงงานก็เช่นเดียวกัน รัฐจะยอมให้เอกชนครอบครองและดำเนินการ ส่วนกิจการที่ครอบครองโดยชาวต่างประเทศจะดำเนินต่อไปได้ โดยรัฐบาลจะให้สัปทานเป็นคราว ๆ ไป
สรุปสาระสำคัญของเค้าโครงการเศรษฐกิจของ "นายปรีดี พนมยงค์"
1)รัฐบาลจะหางานให้ราษฎรทำ เช่นรับเป็นข้าราชการ
2)รัฐบาลจะต้องเป็นผู้จัดการเศรษฐกิจเสียเอง
3)รัฐบาลสนับสนุนให้มีแนวทางการบริหารเศรษฐกิจที่พึงตนเอง
4)รัฐบาลจะซื้อที่ดินจากเอกชน
5)จัดหาทุนเพื่อมาจ่ายค่าแรงและซื้อเครื่องจักร โดยเก็บภาษีมรดก ภาษีเงินได้ของเอกชน ภาษีทางอ้อม(เช่น รวมไว้ในราคายาสูป ไม้ขีดไป เกลือ)
6) รัฐบาลกำหนดให้ราษฎรทำงานตามคุณวุฒิ กำลัง และความสามารถของตน
แนวความคิดและหลักการของเค้าโครงการเศรษฐกิจคณะราษฎรของ "นายปรีดี พนมยงค์" ข้างต้นแสดงถึงความพยายามที่จะใช้การวางแผนเศรษฐกิจจากส่วนกลางและการใช้ระบบสหกรณ์เพื่อใช้ในการเพิ่มพลังทางการผลิต
อย่างไรก็ตาม..เค้าโครงนายปรีดี พนมยงค์ที่ร่างขึ้นแก่คณะรัฐบาลในพ.ศ.2475 ปรากฎว่าได้รับการต่อต้าน ผู้คัดค้านคนสำคัญประกอบด้วย "พระยามโนปกรณ์นิติธาดา "ซึ่งเป็นนายกรัฐมนตรี และ "พันเอกพระยาทรงสุรเดช "หัวหน้าแล่มปีกขวาในคณะราษฎร อีกทั้ง ได้รับการคัดค้านจาก "พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวด้วย" ทรงเขียนบันทึกแสดงพระบรมราชวินิจฉัยเกี่ยวกับเค้าโครงการเศรษฐกิจฉบับนี้โดยสรุปว่า
"เค้าโครงการเศรษฐกิจจะทำลายเสรีภาพของราษฎร เป็นการบังคับราษฎรลงเป็นทาส รัฐบาลไม่มีผู้เชี่ยวชาญในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจ จึงไม่ควรประกอบการเอง การดำเนินการตามเค้าโครงการเศรษฐกิจจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นคอมมิวนิสต์ นอกจากนี้ เค้าโครงการเศรษฐกิจไม่สอดคล้องกับความต้องการของคนไทย เพราะคนไทยอยู่กันตามสมควรไม่ถึงกับมีใครอดอยาก"
พระบรมราชวินิจฉัยของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความตอนหนึ่งว่า...
"มีข้อความอันหนึ่งที่เห็นได้ชัดเจนอย่างไม่ต้องเป็นสิ่งสงสัยเลยว่า โครงการนี้นั้นเป็นโครงการอันเดียวอย่างแน่นอนกับที่ประเทศรุสเซียใช้อยู่ ส่วนใครจะเอาอย่างใครนั้นข้าพเจ้าไม่ทราบ สตาลินจะเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ หรือหลวงประดิษฐ์จะเอาอย่างสตาลินก็ตอบไม่ได้ ตอบได้ข้อเดียวว่าโครงการทั้ง 2 นี้เหมือนกันหมด เหมือนกันจนรายละเอียดเช่นที่ใช้และรูปของวิธีการกระทำ จะผิดกันนั้นก็แต่รุสเซียนั้นแก้เสียเป็นไทยหรือไทยนั้นแก้เป็นรุสเซีย ถ้าสตาลินเอาอย่างหลวงประดิษฐ์ฯ ข้าวสาลีแก้เป็นข้าวสาร ข้าวสารแก้เป็นข้าวสาลี" (อ้างใน ชัยอนันต์ 2532:190)
วันจันทร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สภาพและปัญหาของเศรษฐกิจไทยในช่วง พ.ศ.2475-2488
1.ปัญหาเศรษฐกิจในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ (พ.ศ.2475-2484)
ปัญหาเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำระหว่าง พ.ศ.2475-2484 นั้น ได้แก่ปัญหาทางด้านการส่งออกตกต่ำ ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล รวมทั้งปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา..มูลเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดปัญหาดังกล่าว ก็คือ "ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลกในทศวรรษ 1930"
ช่วงที่ 1..พ.ศ.2475-2484 เป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะคับขันมาก เนื่องมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก
ช่วงที่ 2..พ.ศ.2484-2488 นั้นเป็นช่วงที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 2
เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ว ปัญหาทางเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2475-2488 พอจะจำแนกได้ดังนี้
1.ปัญหาทางด้านการส่งออกตกต่ำ
2.ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล
3.ปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา
การส่งออกตกต่ำ ภาวะการค้าของไทยยังอยู่ในสภาพเกินดุลเป็นสำคัญ จากการดำเนินนโยบายการคลังอนุรักษ์นิยมอย่างเคร่งครัด ลดการนำเข้าให้ได้ดุลการส่งออก มูลค่าการส่งออกข้าวเมื่อคิดเป็นเงินบาทได้ลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการปรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่มีค่าสูงขึ้น เมื่อเอาเงินปอนด์ที่ขายข้าวได้มาแลก จึงได้งินบาทน้อยลง ปัจจัยที่มีผลต่อการลดลต่ำลงของการส่งออกข้าว ประการแรก เนื่องมาจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ประการที่สอง คือการที่ค่าเงินบาทสูงเกินไป ประการที่สาม ตลาดข้าวระหว่างประเทศมีสภาวะการแข่งขันเพิ่มมากขึ้น
ปัญหาการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล เศรษฐกิจตกต่ำมีผลให้รัฐบาลหารายได้ได้น้อย ส่งผลต่อเนื่องให้การใช้จ่ายของรับบาลพลอยตกต่ำลงไปด้วย รัฐบาลได้ตัดงบประมาณรายจ่ายลงไปมาก มาตรการที่สำคัญ คือ ลดเงินเดือนข้าราชการ การปลดข้าราชการออก การตัดงบลงทุนในโครงการพื้นฐานทางเศรษฐกิจที่สำคัญ เช่น สร้างถนน สร้างทางรถไฟ
ปัญหาการผลิตข้าวและหนี้สินของชาวนา ชาวนามีต้นทุนการผลิตสูงเมื่อเทียบกับผลผลิตที่ได้รับ หรือเมื่อการผลิตข้าวขยายตัวย่อมมีผลให้ต้องใช้แรงงานมาก อัตราค่าจ้างย่อมสูงขึ้นด้วย ประกอบกับสัดส่วนต้นทุนในด้านค่าจ้างแรงงานเมื่อเทียบกับต้นทุนการผลิตข้าวยังสูง เพราะการทำนาเป็นกจิกรรมการผลิตที่เน้นการใช้แรงงานเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญ เมื่อราคาข้าวตกต่ำจึงย่อมมีผลให้ชาวนาประสบปัญหายได้ไม่พอจ่ายมากยิ่งขึ้น
2.แนวทางแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจ
แนวทางแก้ไขที่ สำญคือ "นโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว และ นโยบายการคลังของรัฐบาล"
นโยบายการแก้ไขข้าวนั้น เน้นที่จะส่งเสริมการพัฒนาเทคนิคการผลิตข้าวให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น และทำให้ต้นทุนการผลิตข้าวตกต่ำลง ตลอดจนส่งเสริมและสนับสนุนให้มีตลาดที่ขยายตัวมากขึ้นด้วย
นโยบายแก้ไขปัญหาการคลังของรัฐบาล มุ่งที่นโยบายอนุรักษ์นิยมที่เน้นงบประมาณสมดุล และ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ
1.นโยบายการแก้ไขปัญหาเรื่องข้าว..รัฐส่งเสริมการพัฒนาเทคนิคการผลิตข้าวเพื่อให้ผลผลิตต่อไร่สูง สนับสนุนให้ตลาดขยายตัวมากขึ้น จัดตั้ง "กรมตรวจกสิกรรม" ทำหน้าที่เสาะแสวงหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อแก้ไขวิธีการเพาะปลูก การเปิดการคมนาคมทั่วประเทศด้วยการขยายระบบการขนส่งทั้งทางถนนและทางรถไฟ การเพิ่มเนื้อที่เพาะปลูกด้วยการเพิ่ม "โครงการชลประทาน" รวมทั้งขยายงานในด้าน "สหกรณ์" ให้แพร่หลายมากขึ้น
2.นโยบายแก้ไขเรื่องการใช้จ่ายและการคลังของรัฐบาล..เหตุผลสำคัญที่รัฐบาลเลือกใช้นโยบายการคลัง "แบบอนุรักษ์นิยม"เพราะถ้าหากรัฐบาลไทยเลือกใช้นโยบายการคลังที่มีผลต่อการเป็นหนี้ต่างประเทศเพิ่มขึ้นแล้ว ประเทศเจ้าหนี้หรือประเทศมหาอำนาจ เช่น อังกฤษ หรือ ฝรั่งเศส อาจใช้เป็นเหตุผลหรือข้ออ้างเพื่อแทรกแซงกิจการภายใน อธิปไตยจึงเป็นตัวแปรสำคัญต่อการดำเนินนโยบายการคลังแบบอนุรักษ์นิยมที่เคร่งครัดนั่นเอง
3.ปัญหาเศรษฐกิจและผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อ (พ.ศ.2484-2488) ต่อเศรษฐกิจไทย
ปัญหาที่สำคัญทางเศรษฐกิจระหว่าง พ.ศ.2484-2488 คือ ปัญหาการส่งออก ปัญหาการนำเข้า ปัญหาเงินเฟ้อ และผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อต่อเศรษฐกิจไทย ซึ่งส่งผลให้การกระจายรายได้เลวลง และ มีผลต่อเนื่องไปถึงการส่งเสริมสนับสนุนให้การคอร์รัปชั่นแพร่หลายมากขึ้น
พ.ศ.2484 จอมพล ป.พิบูลสงคราม นายยกรัฐมนตรี ประกาศตัวเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่น ไทยเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 การค้าระหว่างประเทศของไทยจึงถูกกระทบอย่างหนัก โดยเฉพาะการส่งออกข้าว เกิดภาวะเงินเฟ้อ จากการที่ไทยต้องผลิตธนบัตรเพื่อให้ทหารญี่ปุ่นได้กู้ยืมใช้ภายในประเทศ ผลกระทบของภาวะเงินเฟ้อที่มีต่อเศรษฐกิจไทยทางด้านกระจายรายได้เลวลง โดยรายได้ที่แท้จริงของข้าราชการลดลงส่งเสริมให้มีการคอร์รับปชั่นอย่างแพร่หลาย
วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจทำให้รัฐบาลต้องหาทางแก้ไข ในขณะเดียวกันวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลให้ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยอันได้แก่ "ปัญหาที่ดิน ปัญหาการขาดแคลนทุน และ ภาระหนี้สินของชาวนา " เห็นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น จนทำให้นักคิดหลายคนเริ่มเสนอแนวนโยบายใหม่ในการแก้ไขปัญหาพื้นฐานดังกล่าว
1.นโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลไทยในช่วง พ.ศ.2453-2475
ในช่วงปลายรัชกาลที่ 5 จนถึงสิ้นรัชกาลที่ 7 เศรษฐกิจไทยต้องพบกับวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจไทยเด่นชัดขึ้น ดังนั้น รัฐบาลจึงมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาพื้นฐานเหล่านั้น แต่จะสังเกตเห็นได้ว่า นโยบายต่าง ๆ ยังมีลักษณะอนุรักษณ์นิยมมิได้แก้ไขปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจแต่ประการใด
1)การแก้ไขวิกฤติการณ์ข้าว
เพื่อแก้ไขภาวะขาดแคลนข้าว รัฐบาลได้พิจารณาให้มีการควบคุมการส่งข้าวออกต่างประเทศ ในเดือน พฤษภาคม พ.ศ.2462 ได้มีการจัดตั้งคณะกรรมการกำกับและตรวจตราข้าว รวมทั้งได้ออกประกาศ "ห้ามมิให้ส่งข้าวออกนอกประเทศ" โดยไม่ได้รับอนุญาต
ความรุนแรงของวิกฤติการณ์ข้าวทำให้รัฐบาลได้ขยายขอบเขตของการพัฒษนาเกษตรกรรมออกไปมาก ผลงานดีเด่นที่สำคัญของรัฐบาลในการแก้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐกิจช่วง พ.ศ.2453-2463 ได้แก่ "โครงการชลประทาน โครงการสหกรณ์ และ การจัดตั้งกระทรวงพาณิชย์" เพื่อช่วยเหลือและส่งเสริมการค้ารวมทั้งการหาตลาดต่างประเทศ
"โทมัส วอร์ด(Thomas Ward) วิศวกรชาวอังกฤษ มาช่วยวางแผนจัดทำโครงการชลประทาน ซึ่งเสนอรัฐาบาลหลายโครงการ แต่ถูกตัดทอนลงเหลือ 2 โครงการ คือ โครงการป่าสักใต้ และ โครงการเชียงราก-คลองด่าน โครงการป่าสักใต้จะสร้างเขื่อนที่อำเภอท่าเรือ จ.อยุธยา ซึ่งต่อมาคือ เขื่อนพระรามหก
ส่วนโครงการเชียงราก-คลองด่าน โครงการนี้จะช่วยระบายน้ำจากโครงการป่าใต้ลงมายังบริเวณทุ่งคลองด่าน ทุ่งแสนแสบ สำโรง และ สมุทรปราการ
2)การแก้ไขวิกฤติการณ์ด้านการคลัง
เพื่อแก้ไขปัญหานี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงตั้ง " สภาการคลัง" เพื่อจัดการควบคุมระบบการเงิน สภาการคลังได้เสนอรายงานว่าความยุ่งยากทางการคลังที่เกิดขึ้นนี้มิได้เกิดจากวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจอย่างเดียว แต่เพราะรายจ่ายประจำและรายจ่ายด้านการลงทุนของรัฐบาลมีมากเกินไป ได้มีการเสนอว่ารัฐบาลไม่ควรจะตัดรายจ่ายการลงทุน หากรัฐหารายได้ไม่พอกับรายจ่ายก็ควรจะลดรายจ่ายด้านการบริหารลง โดยให้ตัดงบรายจ่ายของทุกหน่วยงานลงร้อยละ 10 แต่ไม่ได้รับความเห็นชอบ
ความจริงที่ปรึกษาด้านการคลัง คือ "เซอร์ เอ็ดเวิร์ด คุก (Sir Edward Cook)" ได้เสนอวิธีการแก้ไขปัญหาโดยการตัดรายจ่ายลง ทั้งรายจ่ายในราชสำนัก และรายจ่ายด้านการป้องกันประเทศ เพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ แต่ รัชกาลที่ 6 ไม่ทรงเห็นด้วยกับคำแนะนำที่จะตัดงบราชสำนัก ในทางตรงกันข้าม พระองค์ยังทรงยืนยันที่จะสร้างถนนจากพระราชวังสนามจันทร์ไปหาดเจ้าสำราญ และ อ่าวไทย เพื่อการซ้อมรบเสือป่า และ สร้างสวนลุมพินี เนื่องในโอกาสที่ทรงครองราชย์ครบ 15 ปี ในขณะเดียวกันคณะกรรมการฝ่ายทหารก็ได้เสนอบันทึกต่อรัชกาลที่ 6 แสดงเจตนาแน่วแน่ว่าจะไม่ตัดงบประมาณด้านการทหาร เว้นไว้แต่ว่ารายจ่ายในราชสำนักจะถูกตัดให้น้อยลงในจำนวนเท่าเทียมกัน ในที่สุดปัญหาการคลังก็มิได้รับการแก้ไข จนกระทั้งรัชกาลที่ 6 สวรรคต
เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ใน พ.ศ.2468 ก็ทรงรับภาระหนักในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ทรงตัดทอนรายจ่าย และ หารายได้เพิ่มเติม ในด้านรายจ่ายนั้น พระองค์ทรง "ลดจำนวนข้าราช" ในกระทรวงวัง และ ตัดวบประมาณรายจ่ายส่วนพระองค์ลงจาก 9 ล้าน ในสมัยรัชกาลที่ 6 เป็น 6 ล้านบาท ในด้านการหารายได้ ทรง "เพิ่มค่ารัชชูปการ" และ "ทำการแก้ไขสนธิสัญญาบางส่วนกับอังกฤษ" ในพ.ศ.2468-2469 ทำให้ไทยสามารถปรับปรุงอัตราภาษีศุลกากรใหม่ โดยเพิ่มอัตราภาษีจากร้อยละ 3 เป็นร้อยละ 5 ของราคาสินค้าเข้าทั่ว ๆ ไป
แต่เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก ฐานะทางการคลังของไทยเริ่มมีปัญหาอีกครั้ง การแก้ไขการคลังของไทยในครั้งนี้ ใช้วิธีพยายามตัดทอนรายจ่ายให้มากที่สุด และ หารายได้โดยการเพิ่มภาษีอากร เพื่อให้งบประมาณได้ดุล
3)ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย
ปัญหาพื้นฐานของเศรษฐกิจไทย ก็คือ ปัญหาในด้านการเกษตร หรือ ถ้าพูดให้เจาะจงลงไปก็คือ "ปัญหาของชาวนา"
ปัญหาเศรษฐกิจของชาวนาอาจสรุปได้ คือ 1.ปัญหาเรื่องทุน 2.ปัญหาเรื่องที่ดิน 3.ปัญหาผลผลิตตกต่ำ 4.ปัญหาในด้านการชลประทาน 5.ปัญหาระบบภาษีที่ไม่เป็นธรรม 6.ปัญหาด้านการตลาด
4)นโยบายของรัฐบาลต่อการแก้ปัญหาของชาวนา
ได้มีผู้สรุปว่า รัฐบาลมีนโยบายที่สำคัญอยู่ 2-3 นโยบาย ในการแก้ไขปัญหาของชาวนานั่นคือ 1.ชลประทาน 2.การจัดหาทุนโดยวิธีการสหกรณ์ 3.การพยายามส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตร
แต่มีหลายคนตั้งขอสังเกตว่า รัฐบาลมีบทบาทค่อนข้างน้อย ในการแก้ไขปัญหาให้แก่ชาวนา ไม่ว่าในด้านการผลิต หนี้สิน หรือ การตลาด ความกระตือรือร้นของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาจะเกิดขึ้นต่อเมื่อมีวิกฤติการณ์บางอย่างเกิดขึ้น
2.นอกจากนโยบายของรัฐบาลแล้ว ยังมีนักคิดหลายคนได้เขียนแสดงความคิดเห็นทั้งในด้านหัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหาดังกล่าวของเศรษฐกิจไทย ปัญหาที่บุคคลเหล่านี้เห็นร่วมกันคือ "การที่เศรษฐกิจไทยถูกครอบงำโดยคนต่างชาติ" โดยเฉพาะคนจีน ปัญหาการขาดแคลนทุน และ บริการด้านพื้นฐานจากรัฐบาล ตลอดจน "ปัญหาความไม่เป็นธรรมในการกระจายรายได้"
วิธีแก้ไขคือ "รัฐบาลจะต้องมีบทบาทมากขึ้นทั้งในด้านการเข้ามาเป็นผู้ดำเนินกิจการบางอย่างเป็นตัวอย่างแก่ภาคเอกชน" และ การออกกฎหมายต่าง ๆ ที่จะช่วยขจัดการเอารัดเอาเปรียบ ขจัดความไม่เท่าเทียมกัน
ข้อเสนอแนะปัจเจกบุคคล..ในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจไทย
1.พระยาสุริยานุวัตร (เกิด บุญนาค)
พระยาสุรยานุวัตร เคยไปรับราชการในต่างประเทศหลายประเทศ ตำแหน่งล่าสุดก่อนจะเดินทางกลับมาประเทศไทยคือ อัครราชฑูตประจำประเทศฝรั่งเศส อิตาลี สเปน และ รุสเซีย
พระยาสุริยานุวัตร ได้แต่หนังสือ ชื่อ "ทรัพย์ศาสตร์ 3 เล่ม เล่ม 1 และ เล่ม 2 ตีพิมพ์ใน พ.ศ.2454 ส่วนเล่มล่าสุดท้ายตีพิมพ์ในพ.ศ.2477 เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองใน พ.ศ.2475 พระยาสุริยานุวัตร ได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรี ทำหน้าที่ที่ปรึกษาอาวุโสของรัฐบาล
แนวคิดที่สำคัญของพระยาสุริยานุวัตร ในด้านการพัฒนาประเทศ คือ ระบบเศรษฐฏิจไทยต้องใช้ระบบการผลิตสมัยใหม่ ต้องมีการแบ่งงานกันทำตามความถนัดจะทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานสูงขึ้น ส่วนในด้านการผลิตต้องอาศัยปัจจัยการผลิตที่สำคัญคือ ที่ดิน แรงงาน และ ทุน ซึ่ง ทุน เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุด แต่เป็นปัจจัยการผลิตที่ไทยขาดแคลนมากที่สุด นอกจากขากแคลนทุนแล้วระบบเศรษฐกิจไทย ยังมีปัญหาการกระจายรายได้ที่ไม่เป็นธรรม โครงสร้างของกรรมสิทธิ์ในปัจจัยเป็นเหตุให้คนได้รับส่วนแบ่งปันผลของการผลิตต่างกัน ด้วยเหตุนี้พระยาสุริยานุวัตร จึงไม่เห็นด้วยกับระบบการแข่งขัน เพราะจะทำให้ฝ่ายที่แข็งแรงกว่าได้เปรียบและจะเอารัดเอาเปรียบผู้ที่อ่อนแอกว่า จึงพยายามสนับสนุนให้มีการร่วมมือกันระหว่างแรงงานกับนายทุน โดยใช้วิธี "การสหกรณ์" กำไรที่ได้จากกิจการสหกรณ์ก็จะนำมาแบ่งปันกันระหว่างเจ้าของทุนและแรงงานและเพื่อป้องกันการเอาเปรียบของผู้ที่แข็งแรงกว่า
2.เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน)
รู้จักกันในนามของ "ครูเทพ" สำเร็จการศึกษาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ และ ได้รับการคัดเลือกจากกระทรวงธรรมการส่งไปศึกษาวิชาเพิ่มเติม ณ ประเทศอังกฤษ กลับมารับราชการในกระทรวงธรรมการ มีความก้าวหน้าในราชการมาโดยตลอด จนกระทั่งได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการใน พ.ศ.2459 และอยู่ในตำแหน่งจนถึง พ.ศ.2469 จึงได้ลาออกจากตำแหน่ง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 ได้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และ เป็น "ประธานสภาผู้แทนราษฎรคนแรก" ของประเทศไทย
แนวความคิดของครูเทพต่อเศรษฐกิจไทย
ประเด็นแรกคือ ต่างชาติเข้ามาทำมาหากินและกอบโดยผลประโยชน์จากไทย และ คนไทยเองไม่มีทางที่จะแข่งขันกับคนจีนในด้านการค้าได้
ประเด็นที่สองคือ ครูเทพเกรงว่าในไม่ช้าจะทำให้เกษตรกร ชาวไร่ ชาวนารายเล็ก ๆ ต้องหมดไปกลายเป็นกรรมกรรับจ้าง เพราะสู้ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่ได้
ประเด็นสุดท้าย คือ ปัญหาบางอย่างเกิดจากตัวชาวนาเอง คือ การใช้จ่ายเงินเกินตัว หรือ การที่ถูกำรัฐบาลเก็บภาษีอย่างไม่เป็นธรรม
วิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจใจช่วง พ.ศ.2453-2475
"วิกฤติการณ์ข้าวในสมัยรัชกาลที่ 6 คือ วิกฤติการณ์เกิดจากปัจจัยภายใน อันได้แก่ ..การขาดแคลนข้าวภายในประเทศ"
1.วิกฤติการณ์ข้าวในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ข้าว 2 ครั้งที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากภัยธรรมชาติ คือ ฝนแล้ง และนำท่วม ทำให้ผลผลิตข้าวน้อยลง และมีผลกระทบต่อไปยังวิกฤติการณ์ด้านอื่น ๆ ด้วย
วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 1 ..พ.ศ.2454
ในช่วงพ.ศ.2448-2455 เกิดภาวะผนแล้งและน้ำท่วมสลับกันไป ความรุนแรงเกิดขึ้นมากในภาคกลางโดยเฉพาะที่รังสิตในช่วง พ.ศ.2453-2454 เพราะนอกจากธรรมชาติจะไม่อำนวยแล้ว คลองรังสิตยังตื้นเขินเพราะการขุดคลองแคบเกินไป แม้ราคาข้าวจะสูงขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว แต่มูลค่าส่งออกกลับลดลง
จอห์นสตัน(Johnston) ผู้ซึ่งได้ศึกษาค้นคว้าภาวะเศรษฐกิจถดถอยในช่วงเวลาดังกล่าวได้อธิบายว่า ภาวะเลวร้ายที่เกิดขึ้นนี้ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายผิดพลาดของรัฐบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ การเพิ่มค่าเงินบาท ทำให้การส่งออกของไทยลดลง
การแก้ไขวิกฤติการณ์ในครั้งนี้ของรัฐบาล คือ การซ่อมแซมและขุดคลูคลองใหม่ รวมทั้งลดอากรค่านาลงเท่าเดิม จากนั้นความสนใจของรัฐบาลต่อการพัฒนาการเกษตรได้ลดน้อยลงไป เนื่องจากภาวะการเพาะปลูกและการค้าข้าวได้กลับคืนสู่สภาพปกติ
วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 2 พ.ศ.2460-2462
ในปี พ.ศ.2460 เกิดภาวะน้ำท่วม จึงทำให้นาข้าวได้รับความเสียหายถึงหนึ่งในสาม พื้นที่ที่เสียหายส่วนใหญ่อยู่ภาคกลางซึ่งเป็นแหล่งปลูกข้าวที่ใหญ่ที่สุด ทำให้การผลิตลดลง ต่อมา ในพ.ศ.2462 เกิดภาวะฝนแล้ง ซึ่งก็ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงต่อการผลิตข้าว เนื้อที่เสียหายจากภาวะฝนแล้งคิดเป็นร้อยละ 43 ของพื้นที่เพาะปลูก
การที่ราคาข้าวในตลาดโลกสูงขึ้นมาก ได้จูงใจให้มีการส่งข้าวออกนอกประเทศมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะข้าวภายในขาดแคลน และราคาข้าวสูงขึ้นอย่างมากมาย จนกระทั่งรัฐบาลต้องมีมาตรการห้ามนำข้าวออกนอกประเทศในเดือนธันวาคม พ.ศ.2462 เป็นต้นมา
วิกฤติการณ์ข้าวในพ.ศ.2462 รุ่นแรงกว่าใน พ.ศ.2460 บางพื้นที่ถึงกับมีการแย่งชิงข้าวกัน
2.วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศ เกิดจากการที่ "ราคาโลหะเงินในตลาดโลกสูงขึ้น ทำให้ไทยต้องขึ้นค่าเงินบาท" เพื่อป้องกันมิให้โลหะเงินไหลออกนอกประเทศ ซึ่งก่อให้เกิดผลเสืบเนื่องคือ การส่งออกของไทยลดลง และการมีปริมาณเงินปอนด์ลดลง จึงทำให้ความต้องการเงินปอนด์สูงขึ้นและถือเงินปอนด์สูงขึ้นไปอีก ซึ่งเป็นผลเสียต่อเศรษฐกิจไทย กล่าวคือ "ไทยต้องขาดดุลการค้า"
วิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศมีความสัมพันธ์กับวิกฤติการณ์ข้าวอย่างใกล้ชิด "อินแกรม" ได้ประมวลความยุ่งยากทางการเงินระหว่างประเทศของไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ไว้ว่า พลังสงครามความต้องการข้าวไทยสูงมาก มีการส่งข้าวออกไปได้มาก ผู้ส่งข้าวออกเมื่อได้เงินตราต่างประเทศมาส่วนใหญ่จะเป็นเงินปอนด์ก็จะนำเงินตราเหล่านี้ไปแลกเงินบาทจากกระทรวงการคลัง ทำให้ความต้องการเงินบาทภายในประเทศสูงมาก รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องสนองความต้องการนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ เช่น การนำเหรียญเงินในกองทุนสำรองออกมาใช้ หรือ การนำธนบัตรฉบับละ 1 บาท มาพิมพ์ใหม่เป็นฉบับละ 50 ผลก็คือ กระทรวงการคลังได้เงินปอนด์เข้ามามากโดยรับซื้อในอัตราขณะนั้นคือ 13 บาทต่อ 1 ปอนด์ และ ปริมาณเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจสูงขึ้นมาก จนกระทั่งมีการห้ามส่งข้าวออกเพราะวิกฤติการณ์ข้าวในปี พ.ศ.2462
เหตุการที่เกิดขึ้นต่อมาคือ "พ.ศ.2462 ราคาของโลหะเงินสูงขึ้น" และมีการคำนวณว่าถ้าอัตราแลกเปลี่ยนของเงินบาทต่อเงินปอนด์ยังเป็น 13 บาทต่อ 1 ปอนด์ เมื่อโลหะเงินมีราคาสูงกว่า 39 เพนนี ต่อ 1 ออนซ์ จะมีการหลอมเหรียญเงินส่งไปขายในต่างประเทศ เพราะได้กำไรมากกว่า
ความที่เกรงว่าปริมาณเหรียญเงินในประเทศจะลดลง เพราะการหลอมเหรียญเงินส่งไปขายต่างประเทศ รัฐบาลไทยจึงได้ขยับอัตราแลกเปลี่ยนจาก 13 บาทเป็น 12 บาทต่อ 1 ปอนด์ การกระทำดังกล่าวประกอบกับการฟ้ามส่งออก ทำให้ความต้องการต่อเงินบาทลดลง เนื่องจากเงินปอนด์ที่ได้รับจากการส่งออกลดลงจำนวนเงินปอนด์ที่จะนำมาแลกกับเงินบาทจึงลดลงด้วย ขณะที่ความต้องการต่อเงินปอนด์กลับสูงขึ้น และราคาโลหะเงินยังคงสูงขึ้นต่อไป รัฐบาลไทยจึงขยับอัตราแลกเปลี่ยนให้สูขึ้นตามจนเป็น 9.54 บาทต่อ 1 ปอนด์
ดังนั้นผลรวมที่เกิดขึ้นจากการห้ามส่งข้าวออกและการขึ้นค่าเงินบาทก็คือ ความต้องการเงินปอนด์จะยิ่งสูงขึ้นไปอีก ทั้งนี้เพราะเป็นที่คาดกันว่า ความต้องการเงินปอนด์ที่สูงขึ้นจะทำให้ค่าของเงินปอนด์สูงขึ้นไปอีก และ รัฐบาลไทยอาจจะต้องลดค่าเงินบาทลงมา ดังนั้น ผู้สั่งเข้าจึงรีบซื้อเงินปอนด์ไว้ก่อน ซึ่งยิ่งทำให้ความต้องการเงินปอนด์สูงขึ้นไปจริง ๆ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อมาก็คือ ไทยนอกจากจะขาดดุลการค้าเป็นครั้งแรกนับแต่ปี พ.ศ.2393 มาแล้ว รัฐบาลไทยยังขาดทุนจากการขายเงินปอนด์
การลดค่าเงินบาทลงในขณะที่ราคาโลหะเงินในตลาดสูงขึ้น ย่อมจะทำให้มีการสั่งหลอมเหรียญเงินและส่งออกไปขาย ด้วยเหตุนี้การ "ขึ้นค่าเงินบาท" จึงเป็นหนทางเดียวที่จะยับยั้งการไหลออกของโลหะเงินได้ และ รัฐบาลก็มีความยินดีที่จะขึ้นค่าเงินบาท เพื่อรักษาปริมาณการหมุนเวียนของเหรียญเงินในประเทศไว้ให้ประชาชนมีความเชื่อถือในเงินตราต่อไป
3.วิกฤติการณ์ด้านการคลังในช่วง พ.ศ.2453-2475
วิกฤติการณ์ด้านการคลังเป็นผลจากวิกฤติการณ์ข้าวและวิกฤติการณ์ด้านการเงินระหว่างประเทศ เพราะการที่ผลผลิตข้าวลดลง และการที่ไทยพยายามขึ้นค่าเงินบาท มีผลให้การส่งออกลดลง รายได้จากการเก็บภาษีลดลง ประกอบกับรายจ่ายของรัฐบาลสูงขึ้น จึงทำให้เกิดปัญหาด้านการคลังขึ้น
นับตั้งแต่ได้มีการปฏิรูปการบริหารการคลังโดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวในพ.ศ.2435 เป็นต้นมา การจัดทำงบประมาณมีระบบและการตรวจสอบอย่างสมำเสมอ มีการแบ่งแยกระหว่างรายได้ของแผ่นดินและรายได้ส่วนพระมหากษัตริย์ การจัดเก็บภาษีก็เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น รายได้แผ่นดินเพิ่มขึ้น งบประมาณเกินดุลมาโดยตลอด ยกเว้นในบางปีเช่น พ.ศ.2447และ พ.ศ.2450 ซึ่งจำนวนขาดดุลน้อยมากประมาณ 6 แสนบาท
เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ วิกฤติการณ์ข้าวครั้งที่ 1 เกิดขึ้นใน พ.ศ.2454 งบประมาณขาดดุลเป็นจำนวนถึง 2.53 ล้านบาท และ ช่วงที่เราเรียกกันว่า เป็นช่วงวิกฤติการณืของการคลังของรัฐบาล คือ "ช่วงที่งบประมาณขาดดุลเป็นเวลา 6 ปี ต่อต่อกันตั้งแต่ พ.ศ.2463-25468" และจำนวนการขาดดุลเพิ่มขึ้นตลอดเวลา ขณะเดียวกันจำนวนเงินคงคลังในแต่ละปีก็ลดลงมากด้วย
วันศุกร์ที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
การขยายตัวของระบบเศรษฐกิจ 2453-2475
"การขยายตัวอขงการเพาะปลูกข้าวในช่วง พ.ศ.2453-2475 เกิดจากปัจจัยสำคัญ คือ ความต้องการข้าวในตลาดโลก"
น่าสังเกตว่าการขยายตัวของภาคเศรษฐกิจดังกล่าว เกิดจากปัจจัยภายนอกเป็นส่วนใหญ่นั่นคือ ความต้องการข้าว ดีบุก ไม้สัก และ ยาง ในต่างประเทศสูงขึ้น จูงใจให้ผู้ผลิตภายในประเทศขยายการผลิตมากขึ้น รัฐบาลยังมีบทบาทน้อยในการขยายตัวอังกล่าว แต่เฉพาะภาคหัตถอุตสาหกรรมนั้นรัฐบาลได้ให้ความสนใจพอควร ดังจะเห็นได้จากการที่รัฐบาลพยายามเพิ่มอัตราภาษีสินค้าเข้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมภายในประเทศ
1.การขยายตัวของภาคเกษตรในช่วง พ.ศ.2453-2475
อันได้แก่ การเพาะปลูกข้าว การทำเหมือนแร่ ป่าไม้ และยาง เป็นผลของอุปสงค์ในตลาดโลกที่สูงขึ้น และผู้ผลิตภายในประเทศได้สนองตอบอย่างน่าพอใจต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว น่าสังเกตว่าปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดการขยายตัวอย่างรวดของกิจการเหมืองแร่และป่าไม้คือ "ทุน.จากต่างประเทศ การขยายตัวดังกล่าววัดได้จากการเพิ่มขึ้นของผลผลิตและการส่งออก
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เศรษฐกิจไทยจัดว่าอยู่ในช่วงกำลังขยายตัว การเพาะปลูกข้าวเริ่มขยายตัวนับแต่ พ.ศ.2420 เป็นต้นมา การาขยายพื้นที่เพาะปลูก ขยายตัวมากใสช่วง พ.ศ.2433-2453 ปริมาณการส่งออกข้าวเพิ่มจึ้นจากร้อยละ 5 เป็นร้อยละ 50 ของผลผลิตข้าวทั้งหมด
อย่างไรก็ตามช่วงปีสุดท้ายของรัชสมัย ร.5เกิดภาวะฝนแล้งทำให้ผลผลิตข้าวลดลง ประชาชนได้รับความเดือดร้อน เพราะขาดแคลนข้าวทั้งเพื่อการบริโภคและเพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ จนเกิดปัญหาติดต่อมาถึงรัชสมัย ร.6
พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ในช่วงที่เศรษฐกิจไทยเริ่มมีปัญหา และต่อจากนั้นอีกไม่นานไทยก็ได้รับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่ 1 (พ.ศ.2457-3460) ภาวะแห้งแล้ง และภาวะน้ำท่วมระหว่าง พ.ศ.2462-2463 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว(ร.7)ก็มิได้โชคดีไปกว่ากัน เพราะเมื่อพระองค์ขึ้นครอบราชย์นั้น ต้องทรงแก้ไขปัญหาการคลังของรัฐที่ตกทอดมาจากรัชกาลก่อน
"วิกฤติการณ์ข้าว" จากภาวะขาดแคลนข้าวภายในประเทศ ทำให้รัฐบาลต้องออกประกาศปิดและกักกันข้าวที่จะส่งออกนอกประเทศ และพยายามตรึงราคาข้าวไม่ให้สูงขึ้น
รัฐบาลก่อตั้งสภาเผยแผ่พาณิชย์เพื่อรับผิดชอบในด้านสหกรณ์ ตลอดจนการจัดให้มีการทดลองและสาธิตการทำนา การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์ และที่สำคัญก็คือได้มีการ "เริ่มโครงการชลประทานป่าสักใต้" ซึ่งเป็นโครงการชลประทานหนึ่งในหลาย ๆ โครงการที่ "นายโทมัส วอร์ด" วิศวกรชลประทานชาวอังกฤษที่รัฐบาลไทยยืมตัวมาจากรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้เสนอ จากนั้นก็ได้มีการอนุมัติโครงการชลประทานอีก 2 โครงการคือ โครงการเชียงราก-คลองด่าน และ โครงการสุพรรณ
กระนั้นรัฐบาลก็ได้รับคำติเตียนค่อนข้างมากที่มิได้ให้ความสนใจต่อการพัฒนาการเกษตรเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องการตัดสินใจที่จะใช้จ่ายเงินไปในการสร้างทางรถไฟแทนการลงทุนในด้านเกษตรกรรม
2.การขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมและภาคการเงินในช่วง พ.ศ.2453-2475
การขยายตัวของภาคหัตถอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างเชื่องช้า เมื่อเทียบกับภาคเกษตรกรรม การขยายตัวมีอัตราสูงขึ้นเมื่อไทยเริ่มมี "อิสระในการกำหนดอัตราภาษีขาเข้า" เพื่อปกป้องตลาดภายในจากสินค้าต่างประเทศ ปัจจัยที่ทำให้ภาคหัตถอุตสาหกรรมขยายตัวช้ามีหลายประการ เช่น "เงื่อนไขเกี่ยวกับอัตราภาษีขาเข้าตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง" การเก็บภาษีภายในประเทศ การขาดแคลนปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น "ทุน แรงงานที่มีคุณภาพ" ส่วนกิจการธนาคารพาณิชย์ในภาคการเงินนั้นส่วนใหญ่เป็นของชาวต่างชาติ และ "ทำธุรกรรมเฉพาะบางด้านเท่านั้น"
ภาคหัตถอุตสาหกรรม.."อินแกรม" มีความเห็นว่า พัฒนาการของอุตสาหกรรมไทยถูกจำกัดโดยปัจจัยหลายประการ เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบภายในประเทศ แต่ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่านั้น ได้แก่ "เงื่อนไขการเก็บภาษีศุลกากรตามสนธิสัญญาเบาว์ริ่ง" กล่าวคือ การกำหนดอัตราภาษีขาเข้าเพียงร้อยละ 3 รวมทั้งการเก็บภาษีผ่านด่านภายในประเทศที่เก็บจากการขนส่งสินค้าบางชนิดภายในประเทศ มีข้อสังเกตว่า การยดเลิกภาษีผ่านด่านและการขึ้นอัตรภาษีขาเข้าได้ช่วยให้อุตสาหกรรมภายในประเทศขยายตัวขึ้น แต่ในขณะเดียวกันตลาดภายในประเทศของไทยก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะสนับสนุนการขยายตัวของอุตสาหกรรมเหล่านี้ นอกจากนั้นการขาดแคลน "แหล่งเงินทุน ผู้ประกอบการ แรงงานที่มีความชำนาญ" และพลังงานล้วนเป็นปัจจัยที่ถ่วงความเจริญเติบโตของ
อุตสาหกรรมภายในประเทศในช่วงทศวรรษ 2463 และ 2473
อย่างไรก็ตาม การเติบโตของการเพาะปลูกข้าวและการค้าข้าว ก็เป็นตัวกระตุ้นกิจกรรมหลายประเภทที่เกี่ยวข้อง เช่น กิจการโรงสี และการส่งออกดังที่ได้กล่าวมาแล้ว นอกจากกิจการดังกล่าวนี้แล้ว กิจการธนาคารพาณิชย์ก็ได้เกิดขึ้นและขยายตัวอย่างรวดเร็วในเศรษฐกิจไทยช่วงนี้ แต่ธนาคารเหล่านี้จะทำหน้าที่เป็นธนาคารรับฝากเงิน และให้สินเชื่อ หรือธนาคารแลกเงิน กล่าวคือ ออกซื้อและขายตั๋วแลกเงิน หรือส่งเงินไปต่างประเทศเท่านั้น
ข้อชวนคิด..สาเหตุที่ทำให้ภาคหัตถอุตสาหกรรมไทยช่วงพ.ศ.2453-2475 ไม่ขยายตัวเท่าที่ควรเพราะ
หนึ่ง ข้อจำกัดในการเก็บภาษีขาเข้าตามสนธิสัญญาเบาว์ริง รวมทั้งการเก็บภาษีซ้ำซ้อนภายในประเทศ
สอง ตลาดภายในประเทศเล็กเกินไปจึงไม่จูงใจให้มีการลงทุนในด้านนี้
สาม การขาดแคลนปัจจัยการผลิต เช่น ทุน แรงงานที่มีคุณภาพ และผู้ประกอบการ
3.การค้าต่างประเทศในช่วง พ.ศ.2453-2475
ระบบเศรษฐกิจไทยมีความผูกพันกับเศรษฐกิจต่างประเทศ โครงสร้างสินค้าเข้าและสินค้าออกเปลี่ยนไปบ้างเล็กน้อย โดยเฉพาะในด้านสินค้าออก กล่าวคือ สินค้าออกได้เปลี่ยนจากของป่าและสินค้าที่มิได้แปรรูปหลายชนิดมาเป็นสินค้าออกเพียงไม่กี่ชนิด แต่ยังเป็นสินค้าออกขั้นประปฐม ซึ่งมีการแปรรูปน้อย ส่วนสินค้าเข้านั้นสัดส่วนของสินค้าเข้าประเภททุนเริ่มสูงขึ้นและไทยมีดุลการค้าที่ได้เปรียบตลอดเวลา
รัฐบาลไทยเปิดโอกาสให้ต่างชาติเข้ามาดำเนินกิจการในประเทศไทยและไม่ค่อยควบคุมกิจการของต่างชาติ เพื่อ "เป็นการหารายได้ให้กับรัฐบาล"
โครงสร้างการค้าต่างประเทศของไทยเปลี่ยนแปลงไปคือ "การกระจายตัวของสินค้าเข้าและสินค้าออก"
หลังการเปิดประเทศ ลักษณะของการค้าต่างประเทศได้เปลี่ยนแปลงไป ทั้งปริมาณการค้า และอัตราการเจริญเติบโตมีความผันผวนไม่คงที่ สินค้าออกและสินค้าเข้าเพิ่มขึ้นในอัตราที่ช้าลงในช่วง พ.ศ.2453-2463 เพราะเหตุการณ์สงครามโลกครั้งที่ 1
สินค้าออกของไทย เป็นสินค้าขึ้นปฐมซึ่งไม่ค่อยมีการแปรรูปมากนัก ไม่ว่าจะเป็นไม้สักหรือดีบุก การขยายตัวของการส่งออกเกิดจากการขยายตัวของอุปสงค์ในตลาดโลก เป็นเหตุผลที่ไทยต้องพึ่งต่างชาติมากในการส่งออก
ทิศทางการค้าไทย ในช่วงพ.ศ.2414-2452 ตลาดสินค้าออกของไทยอยู่ในทวีปเอเชีย โดยที่ประมาณร้อยละ 80 ของสินต้าออกส่งไปขายในตลาดฮ่องกงและสิงคโปร์
เป็นที่น่าเห็นด้วยว่า หลังจากการทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว โครงสร้างของสินค้าเข้าและสินค้าออกของไทยเปลี่ยนไปในทิศทางที่ต้องพึ่งต่างประเทศมากขึ้น เนื่องจากการผลิตของไทยได้เปลียนเป็นการผลิตสินค้าเกษตรไม่ดี่ชนิดเพื่อส่งออก และมีการสั่งสินค้าเข้าทั้งประเภทสินค้าบริโภคและสินค้าประเภททุน จากต่างประเทศมากขึ้น
วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
สมัยรัตนโกสินทร์เริ่มเบิกฟ้าในประวัติศาสตร์ไทย
นอกจากนั้นความสำเร็จของการผูกพันหัวเมืองเหนือหรือล้านนาไว้กับกรุงเทพฯ เป็นปัจจัยพื้นฐานประการหนึ่งที่ช่วยเหื้อหนุนการรวมประเทศสร้างรัฐประชาติไทยในสมัยรัชกาลที่ ๕ ส่วนการเติบโตขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดการต่อตัวของเศรษฐกิจแบบตลาด "เพื่อค้าเพื่อขาย" ในภาคกลางและหัวเมืองชายทะเลตะวันออก ในโครงสร้างเศรษฐกิจรวมของอาณาจักรที่มีลักษณะพอเพียงเลี้ยงตัวเองนั้น ได้เป็นฐานสำคัญให้แก่การเข้าสู่ระบบทุนนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๔ รวมทั้งได้ส่งผลต่อเนื่องให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทางสังคมด้วย ตั้งแต่การเริ่มเกิด "ค่านิยมเรื่องทรัพย์สินเงินทอง การตื่นตัวใฝ่หาความรู้" และ "การมีโลกทัศน์ที่เน้นความมีเหตุผลมากกว่าสมัยก่อน" ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นพื้นฐานเกื้อหนุนการเริ่มปรับตัวเข้าสู่สังคมสมัยใหม่ในรัชการที่ ๔ ซึ่งได้พัฒนาต่อเนื่องมาอีกมากมาย
ความสำเร็จของการพื้นฟูบ้านเมืองในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น จึงเป็นเสมือนหนึ่งการเตรียมตัวโดยมิได้คาดฝันให้แก่การเผชิญภัยจักรวรรดินิยมในสมัยรัชกาลที่ ๔ ที่ต่อเนื่องมาอีกหลายรัชกาล ช่วยเอื้อให้การพัฒนาเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสมัยใหม่และการสร้างรัฐประชาชาติหรือรัฐชาติไทยดำเนินไปด้วยดีมีประสิทธิภาพ
นับตั้งแต่ปลายรัชกาลที่ ๓ ไทยเริ่มเผชิญกับการแผ่อำนาจของจักรวรรดินิยมตะวันตก ที่ดำเนินนโยบายแสวงหาอาณานิคมและเขตอิทธิพลในทวีปต่าง ๆ เพื่อเป็นแหล่งวัตถุดิน แรงงาน และตลาดระบายสินค้าของตน ผู้นำไทยตระหนักดีว่า การดำเนินการด้วยวิธีทางการฑูตที่สอดคล้องกับสถานนการณ์นั้นยังไม่เพียงพอ เพราะวิธีการบริหารประเทศ รวมทั้งขนบธรรมเนียมประเพณีต่าง ๆ ที่เคยปฏิบัติกันมาช้านานนั้นมีหลายประการที่พ้นสมัย ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอที่จะเอื้ออำนวยให้เผชิญภัยจักรวรรดินิยมและสร้างสรรค์ความเจริญกำวหน้าแก่บ้านเมืองได้ การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยจึงเริ่มต้นขึ้นในรัชกาลที่ ๔ ดำเนินการมากยิ่งในรัชกาลที่ ๕ และสานผลต่าง ๆ สืบต่อมาไม่ขาดสาย
การปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัย เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงขนบธรรมเนียมประเพณี รวมทั้งค่านิยมของสังคมในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่วิธีการบริหารปกครอง การคลัง การภาษีอากร การควบคุมกำลังคน การจัดการทหาร การศึกษา ศาสนา ระบบกฎหมายและการศาล ระบบเศรษฐกิจ การค้า ตลอดจนถึงอาหารการกิน ความเป็นอยู่ สถาปัตยกรรม มารยาท การแต่งกาย และการพักผ่อนหย่อนใจ ทั้งนี้การปรับปรุงต่าง ๆ มักดำเนินไปตามแบบแผนอารยธรรมตะวันตก เพื่อให้เป็นที่ยอมรับของชาติมหาอำนาจในขณะนั้นที่ถือว่าอารยธรรมตะวันตกเป็นแม่แบบแห่งความเจริญก้าวหน้า
ในระยะแรกของการปรับปรุงบ้านเมือง รัฐบาลได้รวบรวมอำนาจเข้าสู่ศูนย์กลางภายใต้สถาบันพระมหากษัตริย์ เพื่อให้มีอำนาจเด็ดขาดในการสั่งการบังคับบัญชาการปฏิรูปบ้านเมือง มีเงินทุนเพียงพอ และสามารถสร้างสรรค์บุคลากรที่มีความรู้ความสามารถมาช่วยดำเนินการต่าง ๆ ได้ สถาบันพระมหากษัตริย์จึงมีอำนาจสูงสุดตั้งแต่กลางรัชกาลที่ ๕ เรื่อมาจนถึงรัชกาลที่ ๖
อย่างไรก็ตาม การปฏิรูปบ้านเมืองตามแบบตะวันตกโดยเฉพาะการศึกษานั้น ได้นำอุดมการณ์ระบบประชาธิปไตที่เป็นรากฐานความเจริญก้าวหน้าของชาติตะวันตกเข้ามาเผยแพร่ในสังคมไทยด้วย เริ่มในหมู่ชนชั้นนำก่อนในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้วขยายสู่ปัญญาชนสามัญชนมากขึ้นในรัชกาลที่ ๖ และรัชกาลที่ ๗ เป็นผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ.๒๔๗๕
สมัยรัตนโกสินทร์
อมรรัตนโกสินทร์ ต่อสร้อย
ย้ายจากฟากแผ่นดิน ตะวันตก
ผาดผุดดุจดังย้อย หยาดฟ้ามาดิน
ฯลฯ (น.ม.ส.สามกรุง หน้า ๑๗๐)