บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2553

รายได้-รายจ่ายสมัยอยุธยา

ในสมัยอยุธยา รายได้นั้น อยู่ภายใต้ระบบการผลิตแบบพอยังชีพและการค้าแบบศักดินา รายได้หลักของรัฐมาจากส่วยซึ่งได้จากแรงงานไพร่ ส่วยส่วนหนึ่งถูกใช้ในราชอาณาจักร อีกส่วนหนึ่ง ถูกส่งเป็นสินค้าออก ทำให้รัฐมีรายได้จากการค้าต่างประเทศโดยไม่ต้องลงทุนมากนัก นอกจากนี้ รัฐยังมีรายได้จากภาษีอากรหลายประเภท รายได้จากเครื่องราชบรรณาการ และบรรณาการจากต่างประเทศ รายได้จากการเกณฑ์เฉลี่ย รายได้จากมรดกของขุนนาง รายได้จากการริบราชบาตรและเงินพินัยหลวง รวมทั้งรายได้จากการให้พ่อค้ากู้เงินไปลงทุน
(ริบบาตร หมายถึง การริบทรัพย์สินทั้งหมดของคนที่ต้องพระราชอาญาเข้าเป็นของหลวง)

รายจ่าย ในสมัยอยุธยา มีหลายประเภท ได้แก่ รายจ่ายด้านการพระศาสนา รายจ่ายในราชสำนัก รายจ่ายในการพระราชทานสิ่งของต่าง ๆ แก่ขุนนาง รายจ่ายในการถวายบรรณาการแก่จักรพรรดิจีน และการลงทุนค้าขาย รายจ่ายในด้านการทหาร รวมทั้งรายจ่ายเมื่อเกิดวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ในราชอาณาจักร ในบรรดารายจ่ายเหล่านี้ที่เป็นรายจ่ายหลักซึ่งรัฐต้องใช้จ่ายเงินจำนวนมากได้แก่ รายจ่ายด้านการพระศาสนาและรายจ่ายในราชสำนัก เนื่องจากเป็นรัฐที่บริหารงานบ้านเมืองด้วยระบบราชการที่มีพื้นฐานอยู่บนระบบมูลนาย-ไพร่ ที่มีขุนนางศักดินาเป็นตัวจักรกลของระบบ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น