บันทึกแห่งสยาม

บันทึกแห่งสยาม
ความรัก ความศรัทธาของลูกหลานแผ่นดินไทย

ขอต้อนรับเข้าสู่เรือนไทยหลังนี้ ร่วมระลึกถึงประวัติศาสตร์ชาติไทย และภูมิใจในความเป็นคนไทยด้วยกัน

แผ่นเอ๋ยแผ่นดิน ในแถบถิ่นนี้ไซร้กว้างหนักหนา



แลดูไกลสุดลูกหูลูกตา ล้วนไร่นาเขียวขจีพงพีไพร



เหมือนมารดาเลี้ยงดูบุตรให้สุขศรี แผ่นดินนี้นี่แหละข้าอาศัย



ข้าตั้งจิตสนองเขตประเทศไทย รักษาให้ยั่งยืนคู่ฟ้าเอย



(พระราชนิพนธ์กลอนดอกสร้าย "แผ่นดิน" ของสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ใน พ.ศ.๒๕๑๓ เมื่อพระชนมายุ ๑๕ พรรษา)



วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สรุปปัจจัยการผลิตด้านที่ดินสมัยสุโขทัยและอยุธยาพอสังเขป

สันนิษฐานว่า ในสมัยสุโขทัยมีแนวคิดว่า พ่อขุนเป็นเจ้าของและผู้ดูแลที่ดินในอาณาจักร และสนับสนุนให้ประชาชนหักร้างถางพงที่ดินเพื่อเพาะปลูก รวมทั้งให้ประชาชนมีสิทธิในการถือครองที่ดินทำกิน และเป็นมรดกสืบทอดถึงลูกหลานได้

ส่วนในสมัยอยุธยานั้น มีการจัดการด้านที่ดินที่เป็นระบบมากกว่าสมัยสุโขทัย ในทางพฤษฎี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของที่ดินทั่วทั้งอาณาจักร แต่ในทางปฏิบัติพระองค์ได้พระราชทานสิทธิในการถือครองที่ดินเพื่อสร้างผลประโยชน์แก่เจ้านาย ขุนนาง ไพร่ และทาส ลดหลั่นกันไปตามศักดินาที่แต่ละคนมีอยู่ รวมทั้งได้ทรงกัลปนาที่ดินแก่วัดด้วย ในสังคมศักดินาสมัยอยุธยา พระมหากษัตริย์ มูลนาย และวัดจึงเป็นผู้ควบคุมปัจจัยการผลิตด้านที่ดิน ส่วนประชาชนนั้นมีสิทธิในที่ดินที่ตนทำกิน ไม่มีปัญหาในเรื่องที่ดิน และรัฐได้สนับสนุนให้ประชาชนหักร้างถางพงบุกเบิกที่ดินเพาะปลูกด้วยมาตรการต่าง ๆ เพื่อจะได้ประโยชน์จากการเก็บส่วยสาอากรจากประชาชนในผลผลิตต่าง ๆ ที่ได้จากผืนดิน อนึ่ง สิทธิ์ในการถือครองที่ดินที่ครอบครองนั้นเป็นมรดกตกทอดถึงลูกหลานและซื้อขายกันได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น